โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ญี่ปุ่นมีอัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหารต่ำที่สุดประเทศหนึ่งจากทุกประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ ปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับในปี 2503 อยู่ที่ร้อยละ79 แต่ลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ40
ดังนั้นเป้าหมายของประเทศคือการเข้าถึงอาหารอย่างพอเพียงให้ได้ร้อยละ 45 ภายในปี 2573 แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย สองในสามของพื้นที่ประเทศเป็นภูเขา และจำนวนเกษตรกรในประเทศกำลังลดน้อยลงรวมทั้งมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ67 ปี
พลังของเกษตรดิจิทัลช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เซ็นเซอร์ เครือข่ายการสื่อสาร อากาศยานไร้คนขับ AI (AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence คือ ปัญญาประดิษฐ์) หุ่นยนต์ และส่วนอื่นๆ ของ IoT ( Internet of Things) หรืออินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
IoT หมายถึง วัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งของเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีการฝังตัวของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ซึ่งวัตถุสิ่งของเหล่านี้ สามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
อีกทั้ง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จากระยะไกล ผ่านโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ IoT สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ทุกอย่างที่ถูกออกแบบมาให้เชื่อมโยงกันได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะสามารถสื่อสารกันได้
ทั้งนี้นำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการ การประมวลผล การตัดสินใจ และการใช้งาน ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างหลากหลาย ที่ต้องอาศัยดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ เรดาร์ และระบบสังเกตการณ์โลกและการสำรวจระยะไกล
เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ การถ่ายภาพดาวเทียมและ GPS (GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System) ยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบการใช้งานของ ปุ๋ยและการใช้น้ำหรือสภาพดินตามเวลาจริงและเพื่อพยากรณ์ผลผลิตพืช
ในญี่ปุ่น เกษตรกรรมดิจิทัลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่การริเริ่มเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่สดใสสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน
ครับ การเกษตรในอนาคตจะพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ถ้าไม่เรียนรู้และพัฒนา การทำการเกษตรในปัจจุบันจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.lombardodier.com/contents/corporate-news/responsible-capital/2021/june/how-japan-is-using-digital-farmi.html