โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การทำฟาร์มคาร์บอน (Carbon farming-การทำเกษตรที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอน) ทำได้หลากหลายวิธี โดยมุ่งเป้าไปที่การแยกคาร์บอนในชั้นบรรยากาศลงในดิน การทำฟาร์มคาร์บอนสามารถเพิ่มปริมาณคาร์บอนทั้งหมด ปรับปรุงความสามารถในการกักเก็บน้ำในดิน และลดการใช้ปุ๋ย นอกเหนือจากการปรับปรุงการเจริญเติบโตของพืช
ทีมวิจัยของ Todd Michael กำลังทำการศึกษาเพื่อค้นหาว่า ความแตกต่างของจีโนมพืช ช่วยให้พืชตอบสนองและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้นอย่างไร
แนวคิดในการวิจัยของ Michael คือการเพิ่มการผลิต suberin ของพืช (สารที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นกันน้ำได้ น้ำจะผ่านไม่ได้ มีความแข็งแรง ทนทานสูง) Suberin จากพืชถูกขนานนามว่าเป็น biopolyester(เส้นใยสังเคราะห์ชีวภาพ) ซึ่งให้โมเลกุลที่มีอายุยาวนานที่สุดในดิน ในพืช suberins เป็นตัวกันก๊าซและน้ำไม่ให้ผ่านจากรากสู่ดิน
การให้พืชสร้างระบบรากที่ใหญ่ขึ้น พืชก็จะสร้าง suberin มากขึ้นเพื่อเก็บ CO2 เมื่อรากหยังลึกลงไปออกซิเจนในดินก็จะน้อยลง ซึ่งหมายความว่า มีการสลายตัวน้อยลงส่งผลให้ CO2 ถูกเก็บไว้นานขึ้น ด้วยการสร้างระบบรากที่ใหญ่ขึ้นซึ่งมี suberin มากขึ้นและส่วนใหญ่ของระบบรากฝังอยู่ลึกลงไปใต้ดิน พืชก็สามารถเคลื่อนย้ายคาร์บอนจำนวนมากลงไปในดินและคงไว้ที่นั่นได้นานขึ้น
ครับ ปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากคาร์บอน ก็พอมีแนวทางแก้ไขโดยการดึงคาร์บอนให้อยู่ในดินให้นานที่สุด
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://seedworld.com/new-plants-for-carbon-farming/