ก้าวสำคัญในวงการเกษตร: ไนจีเรียเปิดตัวถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรม ให้ผลผลิตเพิ่ม 2 เท่า

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       ไนจีเรียประสบความสำเร็จในสิ่งที่ดูเหมือนเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของการวิจัยและพัฒนาการเกษตร ด้วยการเปิดตัวตัวอย่างเป็นทางการ เพื่อการพาณิชย์ของถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานหนอนเจาะฝัก (Pod Borer Resistant – PBR) และสามารถเพิ่มผลผลิตขึ้นเป็น 2 เท่า และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศได้นับล้าน

      ถั่วพุ่มที่ดัดแปลงพันธุกรรมนี้ เป็นผลิตภัณฑ์จากความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้การประสานงานของมูลนิธิเทคโนโลยีการเกษตรแห่งแอฟริกา (African Agricultural Technology Foundation – AATF) ซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยการเกษตร (Institute for Agricultural Research – IAR) ของ Ahmadu Bello University ที่เมือง Zaria

       เป็นการปลดปล่อยพันธุ์ SAMPEA 20-T ในไนจีเรียเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ถั่วพุ่มเป็นพืชอาหารดัดแปลงพันธุกรรมชนิดแรกในทวีปแอฟริกานอกเหนือจากประเทศแอฟริกาใต้ พันธุ์ SAMPEA 20-T มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช MarucaVitrata ซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่ก่อให้เกิดการสูญเสียผลผลิตของถั่วพุ่มได้ถึงร้อยละ 80

        Dr. DenisKyetere ผู้อำนวยการบริหาร AATFกล่าวว่า ถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกรและผู้บริโภคในไนจีเรีย การผลิตถั่วพุ่มจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-100 ตามที่ได้สอบถามเกษตรกรในระหว่างการทดลองประสิทธิภาพแห่งชาติการนำเข้าถั่วพุ่มจะลดลง ซึ่งประมาณว่าร้อยละ20 ของ ถั่วพุ่มที่บริโภคในไนจีเรียมาจากการนำเข้า และด้วยถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรม ไนจีเรียพร้อมที่จะประหยัดเงินได้หลายพันล้าน

       ครับ หลายประเทศพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรของตนด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ สำหรับประเทศไทยยังไม่เห็น

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.environewsnigeria.com/aatf-partners-unveil-genetically-modified-insect-resistant-beans/