โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจาก Ernst Federal Science Center for Animal Husbandry สถาบัน Skoltechและ Moscow State University ได้ผลิตลูกวัวโคลน (ลูกวัวที่มีพันธุกรรมเหมือนกับสัตว์ต้นแบบ) ที่ทำงานได้ตัวแรกในรัสเซีย และลูกวัวโคลนดังกล่าวเพิ่งจะคลอดลูกวัวตัวแรก
ในการทดลองที่เกี่ยวข้อง ทีมงานสามารถทำลายยีนที่รับผิดชอบในการสร้าง beta-lactoglobulin ซึ่งเป็นโปรตีนที่ก่อให้เกิดการแพ้นมในมนุษย์ ด้วยความหวังว่าจะสร้างวัวด้วยการแก้ไขยีนเพื่อสร้างนมที่ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ผลการทดลองนี้ได้รับการตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ในวารสาร Doklady Biochemistry and Biophysics
นักวิจัยกำลังเตรียมพร้อมที่จะทดลองใช้ในขั้นต่อไป โดยการสร้างฝูงวัวหลายสิบตัวที่มีการตั้งครรภ์ที่ได้รับการแก้ไขยีนแล้ว ซึ่ง Petr Sergiev กล่าวว่า เนื่องจากไม่ใช่กระบวนการที่ได้ผลเต็ม100 จึงต้องทอยลูกเต๋าเป็นจำนวนมากและมีราคาแพงมาก
“ฉันคิดว่า งานนี้จะเป็นการวางรากฐานวิธีการสำหรับการแก้ไขยีนในวัวในรัสเซีย ซึ่งจะนำไปสู่ความท้าทายที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราสามารถทำให้วัวผลิตโปรตีนบางชนิดที่ปกติแล้วทำไม่ได้เพื่อวัตถุประสงค์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ”
ครับ เทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะเทคโนฉพาะในพืชเท่านั้น แต่ยังมีการนำมาใช้ในสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน จะเห็นได้กรณีถือว่ารัสเซียได้พัฒนาไปไกลในระดับหนึ่งแล้ว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://phys.org/news/2021-07-russia-cloned-calf-door-gene-edited.html