สมาชิก APEC ตื่นตัวหารือเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมและผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าสู่ตลาด

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      เมื่อเร็วๆนี้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation – APEC) องค์การ ISAAA กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ได้เสร็จสิ้นวาระที่สองของการเจรจานโยบายระดับสูงของ APEC ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (APEC High-Level Policy Dialogue on Agricultural Biotechnology) เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2564 มีสมาชิก 14 คนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเน้นที่การแก้ไขจีโนมและความพร้อมของสมาชิกสำหรับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าสู่ตลาด

     กิจกรรมแบ่งออกเป็น2 วัน โดยวันแรกมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมและนโยบายที่จะกำกับดูแล โดย Dr. Carl Ramage กรรมการผู้จัดการของ Rautaki Solutions Pty. Ltd. และประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน ของ La Trobe University ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และศักยภาพของการแก้ไขจีโนม

     ตามมาด้วยการนำเสนอเกี่ยวกับการพิจารณานโยบายสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแก้ไขจีโนม ที่เน้นองค์ประกอบของนโยบายที่อิงวิทยาศาสตร์ และนโยบายเหล่านี้มีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแก้ไขจีโนม โดย Dr. SzobolcsRuthner แห่งสหพันธ์เมล็ดพันธุ์นานาชาติ (International Seed Federation)ใน สวิตเซอร์แลนด์.

      หลังจากนั้น ตัวแทน 3 คนจากชิลี ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกาได้อภิปราย เกี่ยวกับแนวทางนโยบายเศรษฐกิจและข้อพิจารณาด้านกฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มาจากการแก้ไขจีโนม นอกจากนี้ยังอิปรายเกี่ยวกับแนวทางที่เศรษฐกิจจะถูกรวมอยู่ในกรอบการกำกับดูแลระดับชาติเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี

      วันที่สองเน้นไปที่ความพร้อมของตลาดของระบบเศรษฐกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแก้ไขจีโนม มีการนำเสนอกรณีศึกษาโดย Dr. Alexandre Nepomuceno จาก National Soybean Research Center, Brazilian Agricultural Research Center of Brazil และ Prof. Martin Lema อดีตประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพของอาร์เจนตินา  และผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก University of Quilmes

      จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแนวทางนโยบายที่ใช้โดย 2 ประเทศเศรษฐกิจที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแก้ไขจีโนม รวมทั้งเน้นย้ำกรอบเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรที่ดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่ลงรอยกันของนโยบายในกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน

       จากนั้นตามด้วยกรณีศึกษาของอาร์เจนตินาและภูมิภาคอาเชียน เกี่ยวกับแนวทางนโยบายที่ใช้ระบบเศรษฐกิจเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในโอกาสทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่ดีขึ้นในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมโดย Prof. Lemaและ Dr. Gabriel Romero จากสมาคมอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์แห่งฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

      ในวันที่2 นี้ ปิดท้ายด้วยรายงานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ที่เกี่ยวกับสถานะของนโยบายการแก้ไขจีโนม และความประทับใจของตัวแทนสมาชิกและข้อคิดจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ

        Dr.Mahaletchumy Arujanan ผู้ประสานงานระดับโลกขององค์การ ISAAA และ Dr. Rhodora Romero-Aldemita ผู้อำนวยการ ISAAA SEAsia Centerพร้อมด้วย Dr. Gabriel Romero ทำหน้าที่เป็นดำเนินรายการในระหว่างการประชุมออนไลน์

       ครับ เป็นการติดตามดูว่า นานาประเทศเขาคิดอย่างไรกับเทคโนโลยีการแก้ไขยีน และการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแก้ไขยีนมีความคืบหน้าอย่างไรโอกาสหน้ามาเล่ากันใหม่  อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อไปที่ อีเมล์ knowledge.center@isaaa.org.ครับ