ผลการทดลองภาคสนามพบต้นป็อปลาร์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม สามารถผลิตไบโอเอทานอลได้มากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     เนื้อไม้ส่วนใหญ่ของต้นป็อปลาร์ (poplar) เป็นต้นไม้ใหญ่ เนื้อไม้นิ่ม ประกอบด้วยเซลลูโลส(cellulose) เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose)และลิกนิน(lignin )และในต้นป็อปลาร์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม โมเลกุลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลิกนิน หรือเอนไซม์ CSE จะแสดงออกน้อยลง

     เป็นผลให้มีการผลิตลิกนินน้อยลงและองค์ประกอบของลิกนินโพลีเมอร์ (lignin polymer) จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้มั่นใจได้ว่า การตัดต้นป็อปลาร์จะทำได้ง่ายขึ้น และนำไปผลิตเป็นสารที่มีประโยชน์ เช่น ไบโอเอทานอล (bio-ethanol)ได้มากขึ้น

      การทดลองภาคสนามซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยโดยศาสตราจารย์ WoutBoerjan, Dr. Barbara De Meesterและ Dr. ThatianeMota ของศูนย์ VIB ในเบลเยี่ยม ( VIB-UGent Center for Plant Systems Biology) เพื่อศึกษาศักยภาพของชีวมวลที่ได้จากต้นป็อปลาร์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหมุนเวียนและความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon-neutral คือ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์) สำหรับการผลิตพลังงานชีวภาพและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

     ขณะนี้เป็นการทดลองภาคสนามครั้งที่สามที่ VIB กำลังดำเนินการกับต้นป็อปลาร์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ดัดแปลงองค์ประกอบของเนื้อไม้ ความแตกต่างระหว่างการทดลองภาคสนามทั้ง 3 ครั้งคือ ในแต่ละครั้งจะมีการยับยั้งยีนที่แตกต่างกันใน DNA ต้นป็อปลาร์ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลิกนิน ซึ่งแต่ละยีนจะมีผลที่แตกต่างกันเล็กน้อย

     การทดลองภาคสนามทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นหาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เปลี่ยนองค์ประกอบของไม้ในทางที่ดีและมีเสถียรภาพ

     ครับ เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของต้นป็อปลาร์เพื่อการผลิตพลังงานชีวภาพและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://vib.be/news/new-field-trial-genetically-modified-poplars