นานาทันะ “เมล็ดพันธุ์พื้นเมือง” กับ “เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม” สามารถอยู่ร่วมกันในแอฟริกาได้หรือไม่

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       มาฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกันครับ ในระหว่างการสัมมนาในหัวข้อ “เมล็ดพันธุ์ ใครควรตัดสินว่าเกษตรกรจะปลูกอะไร” เนื่องในวันเมล็ดพันธุ์สากล/วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก

      Patience Koku เกษตรกรไนจีเรีย กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา ควรจะเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนา รวมทั้งนวัตกรรมทางการเกษตรที่ช่วยให้ประเทศที่พัฒนาแล้วได้รับประโยชน์จากการเพาะปลูกที่ให้ผลผลิตสูงและเกษตรกรทั่วโลกสามารถเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ประเภทต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เกษตรกรในบางประเทศผลิตได้ 14 ตันต่อเฮกตาร์ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่อนุญาตยังคงผลิตได้เพียง 1 ตันต่อเฮกตาร์

     ” สรุปสั้น ๆ ก็คือเกษตรกรควรเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุด โดยร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือข้ามชาติ ในการตัดสินใจตัดสินใจว่าควรปลูกเมล็ดพันธุ์ชนิดใด”

      Leonida Odongo นักเคลื่อนไหว เพื่อความยุติธรรมทางสังคมจากเคนยา ซึ่งเป็นผู้บริหาร Haki Nawiri Afrika มองว่า ถึงเวลาที่ชาวแอฟริกันจะกลับไปใช้เมล็ดพันธุ์ “พื้นเมือง” แทนที่จะยอมจำนนต่อการส่งเสริมพันธุ์ที่ผ่านการพัฒนาแล้ว รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม

      Odongo อ้างว่า เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองกำลังถูกโจมตีจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติที่ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของแอฟริกาและทำให้เกษตรกรแย่ลงในทางเศรษฐกิจ

     แต่ Clet Wandu iMasiga นักชีววิทยาด้านการอนุรักษ์และนักพันธุศาสตร์ในยูกันดา กล่าวว่า การอ้างว่าเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองในแอฟริกากำลังถูกโจมตีจากนักปรับปรุงพันธุ์พืชและบริษัทเมล็ดพันธุ์นั้นไม่ถูกต้อง

     “สิ่งที่เกษตรกรในยูกันดาเรียกว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองนั้น ไม่ใช่ของท้องถิ่น เดิมเป็นพันธุ์ในเม็กซิโกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียจาก CIMMYT นำเข้าสู่แอฟริกาผ่านทางประเทศกานา จากนั้นก็กระจายไปทั่วแอฟริกาจนตอนนี้เกษตรกรคิดว่า เป็นข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งข้าวโพดไม่ใช่พืชพื้นเมืองในแอฟริกา”

      Masiga ยังไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่อ้างว่าเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาจะนำไปสู่การทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกล่าวว่า “เรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเหตุผลอื่นๆ หลายประการ ไม่ใช่เพราะเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนา ธนาคารยีนแห่งแรกได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1800 เนื่องเพราะความตระหนักถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีใครคิดเกี่ยวกับพันธุ์ที่พัฒนาแล้ว”

      ดังนั้น เมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาแล้ว ไม่ได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และ การมีเมล็ดพันธุ์ที่ดีขึ้นหมายความว่า เกษตรกรสามารถผลิตได้มากขึ้นบนพื้นที่ขนาดเล็ก และ เขาไม่ต้องไปทำลายป่าเพิ่ม

      Odongo ตั้งข้อสังเกตว่า “ในอดีต เราใช้เมล็ดพันธุ์ที่สืบทอดมาจากปู่ย่าตายายของเรา และ ฉันสนับสนุนพันธุ์พื้นเมืองเสมอ หนึ่งในเหตุผลนั้น คือต้นทุน เมื่อเกษตรกรใช้พันธุ์พื้นเมืองก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ และ เกษตรกรควรได้รับอนุญาตให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ของตนเอง”

       Koku กล่าวว่า ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Replenish Farms เธอได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาซึ่งมาพร้อมกับการค้าขายฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมของไนจีเรีย เธอต้องการเห็นเกษตรกรรายอื่นได้รับประโยชน์เช่นกัน

       เธอเล่าว่า “ฉันเพิ่งปลูกฝ้ายบีทีที่อนุญาตให้ปลูกในไนจีเรีย เนื่องจากมีหนอนชนิดหนึ่งที่ทำลายอุตสาหกรรมฝ้ายทั้งหมดของเราในอดีต ซึ่งหากเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัด10, 15 และ 20 ครั้งในหนึ่งปี ต้องสูญเสียเงินจำนวนมาก ในทางตรงกันข้ามกับฝ้ายบีทีที่ฉันปลูกจะพ่นสารฯ ประมาณสองครั้ง และได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น”

        ครับ ฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในแอฟริกาแล้ว ดูเหมือนว่าต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง และเป็นแนวความคิดเหมือนกับประเทศไทยในปัจจุบัน

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2021/05/can-indigenous-and-gm-seeds-co-exist-in-africa/