โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
Shetkari Sanghatana ประธานสหภาพเกษตรกรอินเดีย ได้ประกาศว่าจะจัดหาเมล็ดพันธุ์ฝ้ายที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชและต้านทานหนอนเจาะสมอ ที่ไม่ผ่านการอนุญาตให้แก่เกษตรกรถึงหน้าประตูบ้าน Lalit Patil
ประธานองค์กร กล่าวว่า ทางสหภาพฯ จะเริ่มต้นกระบวนการลงทะเบียนออนไลน์สำหรับเกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวได้อย่างง่ายดาย
นับตั้งแต่ปี 2561 Shetkari Sanghatana ได้เริ่มอารยะขัดขืน เพื่อเรียกร้องให้มีการรับรองพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมให้ถูกกฎหมาย
ฝ้าย BT ซึ่งได้มาจากการถ่ายฝากยีน Cry1Ac และ Cry 2Ab ที่มาจาก Bacillus Thuringiensis ซึ่งเป็นแบคทีเรียในดิน (จึงเป็นตัวย่อ BT) สามารถต้านทานการเข้าทำลายของหนอนผีเสื้อสีชมพูหรือหนอนเจาะสมอ (pink bollworm) แต่ไม่สามารถทนต่อการใช้ไกลโฟเสต (สารกำจัดวัชพืช) ได้
พันธุ์ฝ้ายที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชรวมทั้งมีความต้านทานหนอนเจาะสมอ ได้มาจากการถ่ายฝากยีน Cp4-Epsps อีกหนึ่งชนิดที่ได้มาจากแบคทีเรียในดิน Agrobacterium tumefaciens ซึ่งช่วยให้ต้นฝ้ายสามารถทนต่อการใช้ไกลโฟเสตได้ เนื่องจากการควบคุมวัชพืชด้วยมือนั้นไม่ประหยัดและต้องใช้แรงงานมากสำหรับผู้ปลูก พันธุ์ฝ้ายที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชและต้านทานหนอนเจาะสมอจึงได้รับความสนใจจากเกษตรกร
Sanghatana เป็นแนวหน้าของความต้องการใช้เทคโนโลยีล่าสุดในพื้นที่เพาะปลูกPatil อ้างว่าประมาณร้อยละ 26 ของพื้นที่ปลูกฝ้ายของรัฐมหาราษฏระ(Maharashtra) ในอินเดีย เป็นพื้นที่ปลูกพันธุ์ฝ้ายที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชและต้านทานหนอนเจาะสมออยู่แล้ว
ครับ เมื่อเกษตรกรมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม ก็ย่อมมีความต้องการแม้จะผิดกฎหมาย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://indianexpress.com/article/cities/pune/maharashtra-farmers-union-to-provide-seeds-of-htbt-cotton-asks-farmers-to-register-online-7351479/