ส่งฝ้ายทั่วไป-ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมไปปลูกบนสถานีอวกาศนานาชาติ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

   เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2564 นักพฤกษศาสตร์ที่ชื่อ Simon Gilroy จาก University of Wisconsin-Madison ได้เปิดเผยว่า จะส่งเมล็ดฝ้ายที่รวมถึงเมล็ดฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station – ISS) ด้วยยานอวกาศที่ชื่อว่า SpaceX Dragoncapsule โดยทีมวิจัยจะทำการศึกษาต้นกล้าฝ้ายที่ปลูกบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นฝ้าย นี่เป็นครั้งแรกที่จะมีการเพาะปลูกต้นฝ้ายในอวกาศ

    ทีมวิจัยของ Gilroy จะเปรียบเทียบฝ้ายที่ปลูกในอวกาศและบนพื้นโลก เพื่อพยายามทำความเข้าใจว่าระบบรากของพืชที่ปลูกมีความสำคัญอย่างไรภายใต้ความสภาพแวดล้อมของแรงโน้มถ่วงที่เป็นศูนย์ (zero gravity) การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก Target และได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจในวิธีการปลูกฝ้ายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งต้องใช้น้ำปริมาณมาก

   สำหรับการทดลองนี้ ฝ้าย2 ประเภทจะถูกส่งไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ โดย Gilroy กล่าวว่า “เรากำลังส่งฝ้ายธรรมดา แต่เราก็ส่งฝ้ายที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมที่เมื่อปลูกบนพื้นโลก จะผลิตโปรตีนที่ทำให้ฝ้ายมีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่อความเครียดในวงกว้าง โปรตีนที่สร้างขึ้นบนพื้นโลกนั้นจะทำงานได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนต่ำ แต่การคาดการณ์ของเราคือ สายพันธุ์ที่มีการสร้างโปรตีนดังกล่าวจะเติบโตได้ดีขึ้นเมื่ออยู่ในอวกาศ”

   ก่อนการส่งขึ้นยายอวกาศ ทีมวิจัยของ Gilroy จะเตรียมเมล็ดฝ้ายไว้บนจานเพาะเลี้ยงเฉพาะ (Petri dishes) ที่ Kennedy Space Center ใน Cape Canaveral รัฐฟลอริดา จากนั้นเมล็ดจะถูกบรรจุลงในยานอวกาศ Dragon และส่งไปยังสถานีอวกาศ ซึ่งนักบินอวกาศจะเก็บไว้ในห้องควบคุมการเจริญเติบโต (growth chambers) คาดว่าเมล็ดจะงอกและเติบโตเป็นเวลาหกวัน

     ในช่วงเวลานี้ นักบินอวกาศจะถ่ายภาพรากเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับขนาด รูปร่าง และทิศทางการเจริญเติบโต กลับมายังโลก และที่ห้องปฎิบัติการของ Gilroy ก็จะทำการทดลองที่เหมือนกัน

    ครับ ก็คอยติดตามผลการศึกษาครั้งนี้ต่อไป น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะสามารถเพาะปลูกพืชในอวกาศได้หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การเพาะปลูกพืชบนดาวดวงอื่น

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.wisc.edu/watch-live-as-uw-scientists-launch-first-cotton-to-the-space-station