ส่งต้นองุ่นสู่วงโคจรในอวกาศ หวังให้เกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมและพฤติกรรมใหม่

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งกำลังคิดที่จะเพาะปลูกองุ่นกลายพันธุ์รุ่นต่อไป โดยหวังว่าจะสามารถต้านทานการเกิดโรคน้ำค้างแข็งและความแห้งแล้ง   

   ภารกิจนี้ใช้ชื่อรหัสว่า CANES เป็นความร่วมมือที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ระหว่าง Space Cargo Unlimited บริษัทเกิดใหม่ด้านการบินและอวกาศของฝรั่งเศส สถาบันวิทยาศาสตร์ไวน์อันทรงเกียรติของมหาวิทยาลัยบอร์กโดซ์ (University of Bordeaux’s prestigious wine science institute – ISVV) ผู้ปลูกองุ่น Mercier และหน่วยงานด้านอวกาศยุโรป (European Space Agency)

    เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2020 ทีมงานได้นำหน่อยอดจำนวน 320 หน่อจากต้นองุ่นทำไวน์ท้องถิ่นในช่วงฤดูหนาว ซึ่งทั้งหมดยังมีชีวิตแต่อยู่ในโหมด hibernation (สภาพที่คล้ายการจำศีลในฤดูหนาว) และปล่อยไปกับจรวด SpaceX Falcon 9 เพื่อไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

    หน่อยอดต้นองุ่นดังกล่าว จะอยู่ภายใต้สภาวะไร้น้ำหนักและอนุภาคที่มีความเร่งสูงมากที่เรียกว่ารังสีคอสมิก(cosmic rays) ซึ่งเป็นรังสีที่สามารถพุ่งขึ้นท่ามกลางเปลวสุริยะหรือในซุปเปอร์โนวาที่อยู่ห่างไกล โดยการทดลองนี้เป็นความพยายามที่จะเริ่มต้นวิวัฒนาการด้วยการนำหน่อยอดต้นองุ่นให้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงและไม่เป็นมิตรจนเกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมและพฤติกรรมใหม่

    Stéphanie Cluzet ซึ่งเป็นนักวิจัย  กล่าวว่า การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม “ข้อมูลให้มากที่สุด” ที่สามารถค้นหาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่ซ่อนอยู่ภายในเซลล์ของพืช และเราต้องการถอดรหัสความลับของพวกเขา

     ครับ เป็นอีกหนึ่งพืชนอกเนือจากฝ้าย ที่นำขึ้นไปศึกษาพฤติกรรมในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://neo.life/2021/05/the-cosmic-grapevine