ค้นพบโปรตีนจากผล ช่วยควบคุมการสุกของมะเขือเทศ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       การแสดงออกของโปรตีนเดี่ยว(single protein)ที่มีอยู่ใน subcellular organelles (หน่วยย่อยพิเศษภายในเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ) ของมะเขือเทศถูกพบว่า ช่วยเร่งหรือชะลอการสุกแก่ของผลซึ่งเป็นโอกาสใหม่ในการปรับปรุงพืช

        นักวิทยาศาสตร์จาก University of Oxford ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของ plastids หรือ subcellular organelles ที่มีอยู่ในผลในกระบวนการทำให้เกิดการสุกแก่ของผลมะเขือเทศ

       เนื่องจาก plastids มีหน้าที่ให้สีแก่ผลจากวรรณกรรม (ความรู้ที่มีมาก่อน)การสุกของผล (fruit ripening)จะเชื่อมโยงกับการเกิดทางชีวภาพ (biogenesis – สิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น)ของโครโมพลาสต์(chromoplasts – plastids ที่พบอยู่ในเซลล์พืช ซึ่งมีสารสีชนิดต่างๆ อยู่ภายใน เช่น แคโรทีนอยด์และแซนโทฟิลล์ พบมากในดอกไม้และผลไม้สุก)

       กระนั้นไม่ค่อยมีใครรู้ว่า plastids มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้อย่างไร ในการศึกษานี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบการทำงานของ plastidsSP1 นั่นคือ ช่วยเร่งการสุกแก่ที่เร็วเกินไปซึ่งแสดงออกโดยการเปลี่ยนแปลงของสีและการทำให้ plastids SP1 ไม่ทำงาน จะทำให้ผลมะเขือเทศสุกช้าลง

      นักวิทยาศาสตร์สามารถแสดงให้เห็นว่า plastidsSP1 สามารถกระตุ้นให้เกิดผลกระทบในวงกว้างในการสุกแก่ของผลโดยการส่งเสริมการเปลี่ยนคลอโรพลาสต์(chloroplast – plastidsซึ่งมีรงควัตถุสีเขียว)ให้เป็นโครโมพลาสต์

      ครับ มีคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์เยอะหน่อย แต่สรุปได้ว่า ผลการศึกษานี้ได้เผยให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของplastidsในการทำให้ผลมะเขือเทศสุกและสามารถใช้เป็นพื้นฐานทางทฤษฎีสำหรับการดัดแปลงพันธุกรรมของมะเขือเทศ

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ox.ac.uk/news/2021-05-18-oxford-scientists-discover-how-alter-colour-and-ripening-rates-tomatoe.