โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ประเทศศรีลังกาที่มีประชากรเกือบ 22 ล้านคน มีที่ดิน 65,000 ตารางกิโลเมตร และ GDP ต่อหัวน้อยกว่า 4,000 ดอลลาร์จะสามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ในชั่วข้ามคืนได้หรือไม่?
ที่เรียกว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้น หมายถึงปุ๋ยคอก ซึ่งมีธาตุอาหารต่ำมาก โดยที่ปุ๋ยยูเรีย 1 กิโลกรัมจะประกอบด้วยไนโตรเจน 460 กรัมหรือร้อยละ 46 ในขณะที่ปุ๋ยคอก 1 กิโลกรัม จะมีไนโตรเจนเพียง 30 กรัม ยกเว้นแต่ผู้ผลิตจะ “เพิ่ม” สารละลายยูเรียในระหว่างกระบวนการผลิต
ฉะนั้นเกษตรกรต้องใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มอีก 15 เท่าเพื่อให้ได้ไนโตรเจนในปริมาณที่เท่ากันกับยูเรีย ยิ่งไปกว่านั้นไนโตรเจนเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่พืชนำไปใช้ได้ ส่วนอีกร้อยละ 97 จะได้จากการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะใช้ได้ภายใน 12-18 เดือน
การตัดสินใจห้ามนำเข้าปุ๋ยเคมีทันทีจะส่งผลกระทบร้ายแรงและเกิดปัญหาความมั่นคงด้านอาหารที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่ฤดูกาลข้างหน้า และอาจนำไปสู่ความอดอยากในประเทศ
ผู้เชี่ยวชาญที่ส่งเสริมเรื่องนี้ (การห้ามใช้ปุ๋ยเคมี) จะไม่อยู่ที่นั่นเพื่อตอบคำถามต่อสาธารณชนเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นและรัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตน
ครับ ถ้ารัฐบาลเห็นด้วย ก็ต้องรับผิดชอบต่อผลที่ได้รับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.sundaytimes.lk/210509/business-times/inorganic-fertiliser-agrochemicals-ban-and-fallacies-of-organic-agriculture-442210.html