พันธุ์ถั่วเหลือง-ข้าวโพดในรุ่นต่อไปจะถูกพัฒนาด้วย CRISPR และ AI ที่สามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนได้จริง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      บริษัท Inari ต้องการดัดแปลงพันธุกรรมพืชให้ใช้น้ำ ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู และที่ดินน้อยลง โดยมุ่งเน้นไปที่ถั่วเหลืองและข้าวโพด เพื่อใช้เพาะปลูกในพื้นที่ 300 ล้านเอเคอร์ ที่อยู่ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

     เครื่องมือที่ใช้คือ SEEDesign ของบริษัท Inari ที่สามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดได้ร้อยละ 20 ในขณะที่ลดการใช้น้ำลงร้อยละ 40 และลดความต้องการไนโตรเจนของข้าวโพดลงร้อยละ 40

     พืชดัดแปลงพันธุกรรมอาจเกี่ยวข้องกับการตัดออกหรือทำให้ยีนที่ไม่ต้องการหยุดทำงาน เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การลดความจำเป็นในการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู การดัดแปลงพันธุกรรมยังสามารถถ่ายฝากยีนเข้าไปในพืชได้ ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียจะถูกใช้เพื่อการถ่ายฝากยีนใหม่

       การถ่ายฝากยีนจากต่างชนิดพันธุ์ เข้าสู่พืชเป็นหนึ่งในข้อโต้แย้งหลัก อย่างไรก็ตามบริษัท Inari ไม่ได้ใช้ยีนจากต่างชนิดพันธุ์ถ่ายฝากเข้าสู่พืช แต่บริษัททำการดัดแปลงยีนที่มีอยู่แล้วในพืชด้วยวิธีการแก้ไขยีน (gene editing) 

     เครื่องมือ SEEDesign ของบริษัทใช้การออกแบบเชิงคาดการณ์และใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence – AI) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ของพืช และสร้างพิมพ์เขียว เพื่อใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขยีนที่สามารถแก้ไขได้หลายครั้งในจีโนมเดียว การแก้ไขสามารถทำให้พืชมีผลผลิตสูงขึ้นและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

      ครับ นี่คือแนวทางใหม่ในการพัฒนาพันธุ์พืชในรุ่นต่อไป ด้วยการตัดต่อยีนด้วยเทคนิคที่เรียกว่า CRISPR และใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Al เราตามเขาทันไหมครับ?

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.forbes.com/sites/lanabandoim/2021/05/21/gene-editing-seeds-with-crispr-is-transforming-agricultural-biotechnology/?sh=204c4990163d