การแก้ไขยีนคืออะไร เหตุไฉนจึงหยุดชงัก…?

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     การแก้ไขยีนคืออะไรและกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอะไร?

      ตามเอกสารการให้คำปรึกษาของกระทรวงอาหารสิ่งแวดล้อมและกิจการชนบทแห่งสหราชอาณาจักร (UK Department of Food, Environment and Rural Affairs – DERFA) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการแก้ไขยีนไม่มีดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สามารถทำได้อย่างช้าๆโดยใช้วิธีการผสมพันธุ์แบบดั้งเดิม เปรียบเทียบสถานการณ์นี้กับการดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งจะนำดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมาใช้กับอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่แตกต่างกัน

      สถาบันอาหารเกษตรและชีววิทยาศาสตร์ (Agri-Food and Biosciences Institute – AFBI) เชื่อว่าการแก้ไขยีนสามารถสร้างความแตกต่างที่แท้จริงและให้ผลเป็นบวกเมื่อนำมาใช้พัฒนาในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์และพืชตามความต้องการและมอบโอกาสที่ดีสำหรับอนาคตของการทำการเกษตร

       การปรึกษาสาธารณะ(public consultation)ทำให้เกิดคำถามพื้นฐานที่ว่า “การแก้ไขยีนควรได้รับการกำกับดูแลเหมือนสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่”

      ศาสตราจารย์ Angela Karp ผู้อำนวยการ RothamstedResearch กล่าวว่า สำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่จะพิจารณาว่า การทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่กำหนดเป้าหมายโดยวิธีการแก้ไขยีนจะมีความเสี่ยงมากกว่าการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือการกลายพันธุ์แบบสุ่มที่เกิดจากการใช้สารเคมีหรือฉายรังสี

      ยิ่งไปกว่านั้นศักยภาพในการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการของพืชอาหารผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเพียงเล็กน้อยที่เกิดจากการแก้ไขยีนนั้นมีมากกว่าความเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีนี้อย่างมาก

      ครับ เห็นด้วยว่าไม่ควรกำกับดูแลเหมือนกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.farminglife.com/country-and-farming/gene-editing-is-it-the-future-3212136