ออสเตรเลียพัฒนาพันธุ์ไก่ด้วยการแก้ไขยีนเพื่อการเกษตรและยา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    ISAAA ได้เปิดการสัมมนาทางเว็บเป็นครั้งแรกของซีรีส์การสัมมนาทางเว็บไซต์เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตว์ระดับภูมิภาคเอเชีย-โอเชียเนีย โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขยีนในสัตว์ปีก (ไก่) การสัมมนาทางเว็บฯครั้งนี้เป็นการนำเสนอการแก้ไขยีนโดยใช้ CRISPR เพื่อพัฒนาพันธุ์ไก่ที่มีลักษณะพิเศษซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ รวมถึงการผลิตสารชีวภาพทางการแพทย์

     การสัมมนาทางเว็บฯได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ซึ่งให้ความรู้โดย Dr. Tim Doran นักวิทยาศาสตร์การวิจัยอาวุโสด้านสุขภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพขององค์การวิจัยวิทยาศาสตร์ในเครือจักรภพของออสเตรเลียและภายใต้องค์กรวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (CSIRO) Doran ได้นำเสนอเกี่ยวกับไก่ที่ผ่านการแก้ไขยีนซึ่งเป็นวิธีที่พัฒนาโดย CSIRO โดยใช้การถ่ายเซลล์สืบพันธุ์ในร่างกาย (primordial germ cells – PGCs) ซึ่งเป็นเทคนิคการฉีดโดยตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะ

      เทคโนโลยีนี้จะเกี่ยวข้องกับการฉีดส่วนประกอบ CRISPR ทางหลอดเลือดดำลงในตัวอ่อน (embryos)ไก่ที่มีอายุ 2.5 วัน ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพประมาณร้อยละ 1-10 CSIRO ได้ใช้เทคนิคนี้เพื่อการพัฒนาไก่ให้มีความต้านทานไข้หวัดนก (ANP32A) ต้านทานกลุ่มย่อยของไวรัสลิวโคซิสในนก J (Avian leucosis virus subgroup Jซึ่งเป็นอาร์เอ็นเอไวรัสที่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นดีเอ็นเอ เพื่อให้สามารถแฝงตัวเป็นกาฝากอยู่ในโครโมโซมของเซลล์เจ้าบ้านซึ่งก่อให้เกิดเนื้องอก)และ Merek’s Disease Virus (โรคเนื้องอกในสัตว์ปีกที่เกิดจากเชื้อไวรัส)

      นอกจากนี้ CSIRO ยังใช้เทคนิคนี้ในการผลิตไข่ที่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้โดยการกำจัด ovomucoid ซึ่งเป็นโปรตีนสีขาวที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้มากที่สุดโดยใช้ความสามารถทางวิศวกรรมจีโนมของสัตว์ปีกที่ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ไข่ปรุงสุก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่มีอาการแพ้ไข่อันเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหารและมีผลต่อการผลิตวัคซีนจากไข่

      สุดท้าย CSIRO จะใช้เทคนิคนี้ในการพัฒนาวัคซีนจากไข่โดยใช้ CRISPR เพื่อลบส่วนของยีน IFNAR1 ซึ่งเป็นส่วนของยีนที่สร้างรหัสโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคไวรัสที่เป็นอันตรายอย่างรุนแรงCRISPR พลาสมิดจะถูกฉีดเข้าไปในไข่และต่อมาเมื่อฟักเป็นลูกไก่ที่เลี้ยงจนโตเต็มที่ในสองชั่วอายุไก่และทำการทดสอบและพบความสำเร็จในการใช้เทคนิคนี้เพื่อพัฒนาพันธุ์ไก่ที่ผ่านการแก้ไขยีน นอกจากนี้ CSIRO ยังพบว่าเทคนิคนี้ อาจให้โอกาสใหม่สำหรับการแก้ไขจีโนมในไก่และสัตว์ปีกอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยง PGC

     Doran และ Dr.Mark Tizard เพื่อนนักวิทยาศาสตร์จาก CSIRO ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมไม่เพียงแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงานวิจัยในห้องปฏิบัติการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีที่ CSIRO ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของออสเตรเลียในการพัฒนาพันธุ์ไก่ด้วยวิธีแก้ไขยีนความต้องการและการยอมรับของผู้บริโภคตลอดจนกฎระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการพิจารณา

     ในระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ CSIRO ยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยทำการศึกษาการรับรู้ของสาธารณชน และให้ความเห็นว่าแม้ว่าพันธุ์ไก่ที่ผ่านการแก้ไขยีนจะได้รับการยอมรับจากสาธารณชน แต่อาจต้องใช้เวลาอีกสองถึงสามปีก่อนที่จะมีการจำหน่าย

      ซีรีส์การสัมมนาผ่านเว็บฯเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ระดับภูมิภาคเอเชียโอเชียเนียจัดโดย ISAAA BICs Network และกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา มุ่งเน้นไปที่งานวิจัยของ CSIRO เพื่อเรียนรู้ความก้าวหน้าเกี่ยวกับไก่ที่ผ่านการแก้ไขยีน หากต้องการรับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการสัมมนาผ่านเว็บสมัครรับ Crop Biotech Update และติดตาม isaaa.org บน Facebook, Twitter และ Instagram

     ครับ ท่านใดที่สนใจก็สามารถติดตามได้ ตามช่องทางที่กล่าวข้างต้น

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.isaaa.org/kc/cropbiotechupdate/article/default.asp?ID=18780