เกษตรอินทรีย์ไม่ได้หมายถึงอาหารปลอดภัย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      ผู้บริโภคมักมองว่า อาหารออร์แกนิกหรืออาหารที่มาจากเกษตรอินทรีย์ เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อร่อย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่การรับรองอาหารออร์แกนิกไม่จำเป็นต้องหมายความว่าอาหารนั้นมีความปลอดภัย

      ออร์แกนิกหรืออินทรีย์นั้นหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดตลอดขั้นตอนการผลิตการจัดการการแปรรูปและการตลาด ไม่ได้อ้างถึงลักษณะและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

       ในความเป็นจริงการรับรอง “อินทรีย์” บ่งบอกถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น รายได้ที่ดีขึ้นสำหรับเกษตรกรรายย่อย และความมั่นคงทางอาหารที่เพิ่มขึ้นผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงคุณภาพดินและน้ำและการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาความสุขกายสบายใจของสัตว์

      ในเดือนมีนาคม 2564 สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ FAO (องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ) ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “ อาหารอินทรีย์ – มีความปลอดภัยกว่าหรือไม่” เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงแง่มุมทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรอินทรีย์และความสัมพันธ์กับความปลอดภัยของอาหารและช่วยให้ผู้อ่านรู้ได้จักกับ agroecology (นิเวศเกษตร) ซึ่งเป็นแนวทางที่สนับสนุนการใช้กระบวนการทางธรรมชาติและจำกัดการใช้ปัจจัยภายนอก

       ฉลากอินทรีย์หรือออร์แกนิก จะขึ้นอยู่กับกฎที่ห้ามหรือจำกัดการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์และเคมีเกษตรซึ่งเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภค แต่สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มาจากพืชยังคงใช้ในการเกษตรอินทรีย์และการใช้ในปริมาณที่สูงก็อาจมีผลเสีย ต่อสุขภาพของมนุษย์เช่นกัน

      ดังนั้นถ้าต้องการที่จะส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ก็ควรเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยของอาหารในแผนการรับรองเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่และสร้างความตระหนักว่าเกษตรอินทรีย์ไม่ได้หมายความว่าอาหารปลอดภัย ตัวอย่างวิธีการดำเนินการเกษตรอินทรีย์ที่รับประกันความปลอดภัยของอาหารมีอยู่รายละเอียดอยู่ในหนังสือและมีลิงค์สำหรับผู้ที่ต้องการมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และนิเวศเกษตร

      หมายเหตุ: Agroecology หรือ “นิเวศเกษตร” คือ การทำเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นการเชื่อมโยง (1) มิติสิ่งแวดล้อม ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องที่เพื่อทำการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะทรัพยากรดินและน้ำ (2) มิติสังคม ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และ (3) มิติเศรษฐศาสตร์ ผลผลิตจากการเกษตรสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น

      ครับ เป็นการอธิบายให้เห็นว่าเกษตรอินทรีย์ไม่ได้หมายถึงอาหารปลอดภัย แต่ถ้าต้องการส่งเสริมกันจริง ๆ ก็ควรเพิ่มมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยในกระบวนการออกใบรับรอง

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fao.org/food-safety/news/news-details/en/c/1392279/