สารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช “เครื่องมือเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคต”

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       มีบทความหนึ่งน่าสนใจ ได้พูดถึงสารชีวภาพเป็นเครื่องมือสำหรับการเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคต บทความนี้ระบุว่าสารชีวภาพเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วย สารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช (biopesticides) ปุ๋ยชีวภาพ(biofertilizers) และสารกระตุ้นทางชีวภาพ (biostimulants)ที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น สัตว์พืชแบคทีเรียหรือแร่ธาตุ

       สารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีข้อดีมากกว่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำหรับเกษตรกรแล้วสารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นสิ่งที่น่าสนใจเนื่องจากอำนวยความสะดวกในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (integrated pest management – IPM) และปกป้องสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์รวมถึงแมลงผสมเกสร

      นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเกี่ยวกับความต้านทานของแมลงศัตรู มีข้อดีด้านแรงงานและมีความยืดหยุ่นในการเก็บเกี่ยว รวมทั้งมีความเป็นพิษต่ำมาก สำหรับผู้บริโภค สารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากสารพิษตกค้างตอบสนองความต้องการของประชาชนที่ต้องการนิเวศวิทยาที่ดีขึ้น

       ในแง่ของประโยชน์ที่กว้างขวางของสารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่ทำไมผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่ได้มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งทั้งนี้เป็นเพราะ สารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีประสิทธิภาพที่ต่ำและขาดเทคโนโลยีการใช้งานที่เหมาะสม

       การเพิ่มประสิทธิภาพของสารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งการมีเทคโนโลยีการใช้งานที่เหมาะสม จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะผู้บริโภคจะมั่นใจได้ว่าอาหารของพวกเขา มาจากการเพาะปลูกอย่างปลอดภัยและยั่งยืน และเกษตรกรจะมีเครื่องมือใหม่สำหรับการเกษตรแบบใหม่ และมีรายได้ใหม่จากบริการที่ยั่งยืนเช่นการกักเก็บคาร์บอนเพื่อใช้ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอุตสาหกรรมจะเพลิดเพลินไปกับตลาดใหม่ขนาดใหญ่ซึ่งจะรับประกันความยั่งยืนของสารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืชในอนาคต

      ครับ น่าจะเป็นบทความที่คาดการณ์ในอนาคต ซึ่งจะมีความเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ สารชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีประสิทธิภาพเที่ยบเท่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และมีเทคโนโลยีการใช้งานที่เหมาะสม

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://news.agropages.com/News/NewsDetail—38697.htm