โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจาก North Carolina State University (NC State) ได้ดัดแปลงพันธุกรรมของโปรไบโอติก ยีสต์
(ยีสต์ ที่มีความทนต่อภาวะกรด-ด่าง ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้) เพื่อผลิตเบต้าแคโรทีนในลำไส้ของหนูทดลอง
การศึกษามุ่งเน้นไปที่โปรไบโอติก ยีสต์ ที่มีชื่อว่า Saccharomyces boulardii เนื่องจากสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตในลำไส้ได้ในขณะที่ยีสต์ชนิดอื่นไม่สามารถทนต่อความร้อนหรือย่อยสลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร
การวิจัยก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จในการดัดแปลงพันธุกรรม ยีสต์ ที่มีชื่อว่า S. cerevisiae ซึ่งเป็นยีสต์ที่ใช้ทำขนมปังและเบเกอรี่ รวมทั้งที่ใช้ในการผลิตทางชีวภาพที่หลากหลาย
Nathan Crook ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมีและชีวโมเลกุลที่ NC State และทีมงาน รู้สึกประหลาดใจเมื่อทราบว่าวิธีการส่วนใหญ่ที่ใช้กับ S. cerevisiae สามารถนำมาใช้กับ S. boulardii ได้
เมื่อได้วิธีที่ใช้ในการดัดแปลงพันธุกรรม Nathan Crook และทีมงาน จึงได้ดัดแปลงพันธุกรรม S.boulardii เพื่อผลิตเบต้าแคโรทีนเบต้าแคโรทีนจะมีสีส้ม จึงทำให้มองเห็นโคโลนีของยีสต์บนจานเพาะเชื้อเปลี่ยนสี นักวิจัยได้ทดสอบ S.boulardii ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้วในหนูทดลองและพบว่าเซลล์ยีสต์สร้างเบต้าแคโรทีนในลำไส้ของหนูได้สำเร็จ
Crook กล่าวว่า นี่เป็นข้อพิสูจน์ถึงแนวคิดและมีคำถามดี ๆ เกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับการวิจัยของพวกเขา
แต่พวกเขารู้สึกตื่นเต้นที่วิธีการนี้สามารถนำไปใช้ได้โดยนักวิจัยคนอื่น ๆ
ครับ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ในการพัฒนาสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประชากรโลก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ncsu.edu/2021/04/engineering-probiotic-yeast/