โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การปลูกฝ้ายบีทีที่ทนทานสารกำจัดวัชพืช (HTBt) ในอินเดียเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้อนุญาตให้เพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ ในช่วงปีการเพาะปลูกปัจจุบันถึงเดือนมิถุนายน และปีก่อนหน้านี้ เกษตรกรในบางพื้นที่ของประเทศได้ท้าทายรัฐบาลด้วยการปลูกฝ้าย HTBt
ในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ที่มีการปลูกฝ้ายร้อยละ 29 ของพื้นที่ทั้งหมด ในฤดูฝน (Kharif season) เกษตรกรปลูกพันธุ์ฝ้ายที่ผิดกฎหมายในพื้นที่ร้อยละ 25-35 ของพื้นที่ เกษตรกรในรัฐคุชราต (Gujarat) เตลังคานา (Telangana) และรัฐอานธร (Andhra)ก็ปลูกฝ้าย HTBtในฤดูกาลนี้เช่นกัน
ฝ้าย HTBt สามารถทนทานสารกำจัดวัชพืชได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรใช้สารกำจัดวัชพืช Glyphosate เพื่อควบคุมวัชพืช แต่ถูกห้ามโดยบางรัฐเช่น รัฐเกรละ (Kerala)
กลุ่มสิ่งแวดล้อมและผู้ที่ต่อต้านเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมอ้างว่า Glyphosate เป็นอันตรายต่อมนุษย์ดังนั้นจึงไม่ควรอนุญาตให้ปลูกฝ้าย HTBt
แต่เกษตรกร กล่าวว่า ต้นทุนการเพาะปลูกลดลงอย่างมากเมื่อใช้เมล็ดพันธุ์ HTBt เนื่องจากสามารถพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชโดยไม่ทำให้ต้นฝ้ายเสียหายและประหยัดค่าแรงที่ต้องใช้ในการกำจัดวัชพืชที่ทำให้ผลผลิตลดลง
ก่อนหน้านี้มีรายงานการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ฝ้าย HTBt ที่ผิดกฎหมายในเขต Nagpur, Chandrapur, Parbhani, Nandurbar, Yavatmal, Bhandaraและ Gadchiroli ของรัฐมหาราษฏระ
ครับ เมื่อเกษตรกรเห็นประโยชน์ที่ได้จากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม และมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวในการเพาะปลูก แต่ทำไมรัฐบาลถึงไม่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกร
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thehindubusinessline.com/economy/agri-business/highest-htbt-cotton-sowing-in-coming-kharif-shetkari-sanghatana/article34251566.ece