การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ผลผลิตทางการเกษตรชะลอตัวลงร้อยละ21 ตั้งแต่ปี 2504

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      Cornell University, University of Maryland (UMD) และ Stanford University ในสหรัฐอเมริกา ได้ทำงานร่วมกันเพื่อระบุถึงจำนวน (ปริมาณ) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่มีต่อการเติบโตของผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกเป็นครั้งแรก

     โดยการใช้แบบจำลองของอิทธิพลสภาพอากาศที่มีต่อผลผลิต ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกลดลง ร้อยละ 21 ตั้งแต่ปี2504 ซึ่งจากข้อมูลของนักวิจัย จะเทียบเท่ากับการสูญเสียอัตราการเติบโตของผลผลิตในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา

      ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการเกษตรทั่วโลกมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยภูมิภาคที่ร้อนขึ้นเช่นแอฟริกา ลาตินอเมริกา และแคริบเบียนได้รับผลกระทบหนักที่สุด จากการศึกษานี้พบว่า พื้นที่เหล่านี้มีการเติบโตที่ช้าลงร้อยละ 26-34 ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าโดยมีการเติบโตช้าลงประมาณร้อยละ 5-15

      Robert Chambers ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร (Agricultural and Resource Economics  – AREC) ที่ UMD กล่าวว่า การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สภาพภูมิอากาศและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศมีผลกระทบอย่างมากต่อผลผลิตทางการเกษตร

       Ariel Ortiz-Bobea ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์และรองศาสตราจารย์จาก Charles H. Dyson School of Applied Economics and Management กล่าวว่า การชะลอตัวนั้นเทียบเท่ากับการกดปุ่มหยุดชั่วคราวในการเติบโตของผลผลิตที่หมุนกลับไปในปี 2556 และยังไม่เห็นการการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นั้นมา และเสริมว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของมนุษย์กำลังทำให้การเพิ่มผลผลิตช้าลง

      ครับ กล่าวโดยสรุป เป็นการศึกษาโดยอาศัยแบบจำลอง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า อัตราการเติบโตของผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลก มีอัตราการเติบโตที่ลดลง โดยเฉลี่ยร้อยละ 21 ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงแตกต่างกัน นั่นก็หมายความว่า ต้องให้ความสนใจที่จะลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างจริงจัง

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://agnr.umd.edu/news/umd-collaborates-quantify-how-climate-change-has-slowed-agricultural-productivity-growth