CRISPR-Cas9 ได้รับการพัฒนาให้แก้ไขยีนในพืชหลายยีนพร้อมกัน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      นักวิจัยจาก Martin Luther University Halle-Wittenberg (MLU)ในเยอรมัน และ Leibniz Institute of Plant Biochemistry (IPB) ได้ร่วมมือกันในการพัฒนาเครื่องมือแก้ไขยีน CRISPR-Cas9 รุ่นปรับปรุงใหม่ ที่มีความสามารถในการแก้ไขยีนในพืชได้ถึง 12 ยีนในการทำงานเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีความเป็นไปได้เฉพาะกับยีนกลุ่มเดียวหรือยีนกลุ่มเล็ก ๆ วิธีนี้จะช่วยให้ง่ายต่อการตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ของยีนต่าง ๆ

     Dr. Johannes Stuttmannนักพันธุศาสตร์พืช จากสถาบันชีววิทยา (Institute of Biology) แห่ง MLUได้อธิบายว่า นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนางานนี้โดยมีที่มา ที่มาจากผลงานของนักชีววิทยา Dr. SylvestreMarillonnetผู้ซึ่งพัฒนา Building Block (ชิ้นส่วนโมเลกุล) ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระบบ CRISPR-Cas9 ที่ IPB ซึ่งการสร้าง Building Block นี้จะช่วยให้พืชผลิตเอนไซม์ Cas9 ได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อทำหน้าที่เป็นกรรไกรสำหรับตัดสารพันธุกรรม และอธิบายเพิ่มเติมว่า สามารถเพิ่ม guide RNAs (RNA ที่ระบุตำแหน่ง) ที่แตกต่างกันมากถึง 24 รายการ เพื่อเป็นตัวนำทางให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ตัดไปยังตำแหน่งที่ต้องการหลายตำแหน่งในสารพันธุกรรม

       วิธีนี้ใช้ได้ผลเมื่อใช้ในการทดลองกับ Arabidopsis thaliana (thale cress – เป็นพืชดอกขนาดเล็กในกลุ่มเดียวกับต้นบรอกโคลี ซึ่งเป็นพืชที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้เป็นตัวแทนในการศึกษา) และ Nicotiana benthamiana (ยาสูบพื้นเมืองที่พบในออสเตรเลียตอนเหนือและตอนกลาง) โดยสามารถแก้ไขยีนได้ถึง 8 ยีนพร้อมกันในต้นยาสูบ

      ในขณะที่ในต้น thale cress ในบางกรณี สามารถแก้ไขยีนได้ถึง 12 ยีน และจากข้อมูลของ Stuttmannนี้เอง ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ซึ่งเขากล่าวว่า “เท่าที่รู้ กลุ่มของเราเป็นกลุ่มแรกที่ประสบความสำเร็จในการจัดการกับยีนเป้าหมายจำนวนมากในคราวเดียว สิ่งนี้อาจทำให้สามารถเอาชนะความซ้ำซ้อนของยีนได้”

       ครับ งานวิจัยถือเป็นสิ่งจำเป็น ขาดงานวิจัยก็ขาดการพัฒนา

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://pressemitteilungen.pr.uni-halle.de/index.php?modus=pmanzeige&pm_id=5205