โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ต้องขอบคุณการปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 9,000 ปี ที่สามารถทำให้มนุษย์สามารถเปลี่ยนข้าวโพดป่า ให้กลายมาเป็นข้าวโพดที่มีเมล็ดหวานฉ่ำที่ทุกคนรู้จักในปัจจุบัน
เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคนิคทางด้านพันธุวิศวกรรมเพื่อดัดแปลงพันธุกรรมพืช ที่ส่งผลให้ข้าวโพดมีความต้านทานต่อศัตรูพืช แต่ขณะนี้นักวิจัยคิดว่า วิธีการแก้ไขยีน หรือ CRISPRซึ่งมีความแม่นยำกว่าวิธีทางพันธุวิศวกรรมแบบดั้งเดิมสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดได้ดียิ่งขึ้น ในการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Plants นักวิจัยได้ใช้วิธีการแก้ไขยีนเพื่อเพิ่มจำนวนเมล็ดบนฝักข้าวโพด
ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดที่เรียกว่า super corn นักวิจัยจาก Cold Spring Harbor Laboratory ในนิวยอร์กและ University of Massachusetts ได้ใช้เทคนิคการแก้ไขยีนที่เรียกว่าCRISPR เพื่อเพิ่มจำนวนเมล็ดข้าวโพด โดยการกำหนดเป้าหมายกลุ่มของยีนในจีโนมข้าวโพดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิดเช่นเดียวกับในมนุษย์ ซึ่งเซลล์ต้นกำเนิดจะเป็นแหล่งที่มาของเซลล์ใหม่ของพืชเพื่อสร้างเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือเนื้อเยื่อทูกโรคพืชทำลายขึ้นมาใหม่
ด้วยการแก้ไขยีน ZmCLE7ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มยีนเหล่านี้ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเบรคเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้นักวิจัยสามารถควบคุมจำนวนเมล็ดของข้าวโพดที่ผลิตได้
ในขณะที่โลกเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศความเสื่อมโทรมของที่ดินและจำนวนประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ MadelaineBartlett นักชีววิทยาด้านพืชคิดว่าการแก้ไขยีนสามารถเร่งการพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นคงทางอาหารได้
ครับ เป็นการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีลักษณะที่ต้องการ เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://futurehuman.medium.com/scientists-used-gene-editing-to-make-super-corn-bf7c31d10818