ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพคิวบา สนับสนุนพืชดัดแปลงพันธุกรรมอีกครั้ง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (Center for Genetic Engineering and Biotechnology – CIGB) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยการเกษตร Mario Pablo Estrada ได้ให้การสนับสนุนพืชดัดแปลงพันธุกรรมอีกครั้ง โดยระบุว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คิวบามีอิสระในการผลิตอาหารทางการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดและถั่วเหลือง

      Estrada อธิบายว่า เทคโนโลยีชีวภาพยังช่วยให้คิวบาพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่ดีขึ้นและได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น คำแถลงของเขาเกิดขึ้นหลังจากการสัมภาษณ์ทางวิทยุและโทรทัศน์กับ Eulogio Pimentel จาก BioCubaFarma

      Pimentel กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการเกษตร มีความกังวลเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตร เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2593 จะมีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรลดลงทั่วโลก แม้ว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมอาจช่วยแก้ปัญหาได้

      กระนั้น Pimentel บอกว่า สิ่งนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่ในทางกลับกัน Estrada ได้เน้นยำให้เห็นว่า เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช ได้รับการรับรองโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหลายคน และสถาบันมากกว่า 200 แห่งทั่วโลกรวมทั้งการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพนั้น มีมานานถึง 25 ปีแล้ว โดยให้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ และความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

      คิวบาได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GM) ในเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระดับชาติ เกี่ยวกับขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคิวบา ในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

      ความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการ คือ การตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีชีวภาพอย่างเป็นระเบียบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรของคิวบา ปัจจุบันคิวบามีข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม ที่ใกล้จะปลดปล่อย ซึ่งผู้ผลิตคาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

      ครับ เมื่อไหร่ผู้กำหนดนโยบายประเทศไทยจะมีแนวคิดเช่นนี้บ้าง

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cigb.edu.cu/potencia-cuba-uso-seguro-de-trangenicos-en-rendimientos-agricolas/