นักวิจัยสำเร็จพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ต้านทานโรคใบด่าง-แผลขีดสีน้ำตาลในระดับสูง แถมผสมธาตุเหล็ก สังกะสีด้วย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธื เอี่ยมสุภาษิต

      ทีมนักวิจัยนานาชาติประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อให้มีความต้านทานในระดับสูงต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง (cassava mosaic disease – CMD) และโรคแผลขีดสีน้ำตาลของมันสำปะหลัง (cassava brown streak disease – CBSD) ตลอดจนมีธาตุเหล็กและสังกะสีในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ความต้านทานต่อโรคและธาตุอาหารหลายชนิด ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลักษณะร่วม (Stack Traits) ในพืชที่ไม่ใช่ธัญพืช

      งานวิจัยนี้มาจากงานวิจัยปี 2562 ที่แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในหัวมันสำปะหลัง มีความเป็นไปได้ ที่นำโดย Dr. Narayanan Narayanan นักวิทยาศาสตร์การวิจัยอาวุโส และ Dr.Nigel Taylor สมาชิกสมทบ และ Dorothy J. King นักวิจัยเกียรติคุณ (Distinguished Investigator) จาก Donald Danforth Plant Science Center และผู้ทำงานร่วมกันในประเทศไนจีเรีย ที่นำโดย Dr. IhuomaOkwuonu จาก National Root Crops Research Institute ใน Umudikeและกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา

     เทคโนโลยีที่ยับยังการแสดงออกของยีน (RNAi-mediated technology) ถูกนำมาใช้เพื่อทำให้เกิดความต้านทานต่อ CBSD ในแอฟริกาตะวันออก 2 พันธุ์และอีก 2 พันธุ์ที่เกษตรกรชาวไนจีเรียนิยมใช้ ร่วมกับการถ่ายฝากยีน AtIRT1 (ผู้นำส่งธาตุเหล็กที่สำคัญ) และยีน AtFER1 (ferritin – โปรตีนในเซลล์ทั่วไปที่สะสมธาตุเหล็กและปล่อยออกมาอย่างเป็นระบบ) เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุเหล็กและสังกะสี ในระดับที่มีนัยสำคัญทางโภชนาการในหัวมันสำปะหลัง (145 และ 40 µg / g น้ำหนักแห้งตามลำดับ)

      ทีมวิจัยยังทดสอบมันสำปะหลังเพื่อยืนยันว่า ระดับธาตุอาหารดังกล่าว ยังคงมีอยู่ในระหว่างการแปรรูปอาหารและการปรุงอาหาร ซึ่งพบว่าธาตุเหล็กและสังกะสีในปริมาณสูงยังคงมีอยู่หลังจากนำมาปรุงเป็นอาหาร และยังคงมีให้ดูดซึมในลำไส้หลังจากการย่อย มันสำปะหลังที่มีธาตุอาหาร สามารถให้ธาตุเหล็กได้ร้อยละ 40 – 50 ของความต้องการสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน (Estimated Average Requirements – EAR) และร้อยละ 60 – 70 ของ EAR สำหรับธาตุสังกะสี ที่เด็กและสตรีในแอฟริกาตะวันตกควรได้รับประจำวัน

       ครับ ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถพัฒนาพันธุ์พืชให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงได้

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.danforthcenter.org/news/international-team-first-successfully-stack-virus-resistance-plus-iron-zinc-biofortification-non-cereal-crop