ภาคการเกษตรในเคนยาไปไกลแล้ว อนุญาตให้พัฒนาพืช-สุกร ด้วยวิธีแก้ไขยีน เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

        องค์การวิจัยปศุสัตว์การเกษตรเคนยา (Kenya Agricultural Livestock Research Organisation- Karlo) และสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรเขตร้อนระหว่างประเทศ (International Institute of Tropical Agriculture – IITA) กำลังใช้วิธีการแก้ไขยีนเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ต้านทานโรคแห้งตาย(maize lethal necrosis – MLN) และพันธุ์กล้วยที่ต้านทาน fusarium wilt (โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา fusarium) รวมทั้งที่ต้านทานโรคbanana streak virus

      งานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขยีนในประเทศเคนยา มุ่งเน้นไปที่การทำให้สุกรมีความต้านทานต่อโรคไข้สุกรแอฟริกัน (African swine fever)และมันเทศ (yams) ที่ต้านทานไวรัส

       นักวิทยาศาสตร์กำลังใช้ CRISPR / Cas9 ซึ่งเป็นเครื่องมือแก้ไขยีนแบบใหม่ ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพการแก้ไขยีนด้วย CRISPR / Cas9 และเทคนิคอื่น ๆ มีศักยภาพที่จะใช้ในการพัฒนาพืชที่มีความทนทานและมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นรวมทั้งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้บริษัทผู้ผลิตยาใช้เป็นวิธีใหม่ในการต่อสู้กับโรคของมนุษย์

     ด้วยจำนวนประชากรทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเกษตรร่วมสมัยจะเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ซึ่งต้องการพันธุ์พืชที่มีผลผลิตสูงขึ้นและมีคุณภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งต้องการปัจจัยการผลิตน้อยลงหน่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (National Biosafety Authority – NBA) ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมดูแลเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศจึงได้อนุญาตการใช้วิธีการแก้ไขยีนใน 6 คำร้องขอเพื่อการอนุญาต

      ในส่วนของเทคโนโลยีใหม่การแก้ไขจีโนมยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นสำหรับเคนยา ซึ่งเคนยาเพิ่งออกกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพในปี 2554 ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ด้านการแก้ไขจีโนมในประเทศจึงได้รับการควบคุมโดยใช้แนวทางเดียวกับพืชที่ได้มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ อย่างไรก็ตามเคนยาได้เริ่มพัฒนาแนวทางของตนเองสำหรับระเบียบการแก้ไขยีนโดยใช้ต้นแบบมาจากอาร์เจนตินา

     ครับ เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่ส่งเสริมแนวทางนี้ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืน

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.businessdailyafrica.com/bd/data-hub/kenya-gears-gene-edited-crops-food-security-3276062