โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
จากการทดลองภาคสนามแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการใช้การแก้ไขยีน เพื่อให้เกิดความต้านทานต่อราขาว (White Mold) ในคาโนลา
ราขาวหรือที่เรียกว่า sclerotinia เป็นเชื้อราก่อโรค ที่สามารถส่งผลกระทบต่อต้นคาโนลาในแปลงปลูก คิดเป็นร้อยละ 14 – 30 ของทุกปี และสามารถลดผลผลิตได้ถึงร้อยละ 50
ดังนั้นนักวิจัยของ Cibus จึงใช้ Rapid Trait Development System (RTDS) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขยีน โดยไม่รวมยีนแปลกปลอมเข้าไว้ในพืช จึงยังคงสถานะที่ไม่ใช่ พืชดัดแปลงพนธุกรรม
Peter Beetham ประธานและซีอีโอของ Cibus กล่าวว่า “โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งที่เราทำ คือ เราทำการเปลี่ยนแปลงตัวสะกด (รหัสพันธุกรรม) ในยีน ซึ่งการทำเช่นนั้น เป็นการเลียนแบบกระบวนการทางธรรมชาติในเซลล์ของพืช แล้วนำเซลล์เหล่านั้นมาพัฒนาให้เป็นต้นพืช จากนั้นเรานำไปเพาะเลี้ยงที่เรือนกระจก และนำเข้าสู่โครงการปรับปรุงพันธุ์พืชตามปกติ”
การต่อสู้กับเชื้อราขาวด้วยวิธีการดังกล่าว มีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการใช้สารป้องกัน กำจัดเชื้อราน้อยลง เกษตรกรจึงใช้เชื้อเพลิงน้อยลง ความต้านทานต่อโรคยังช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้น
ครับ เมื่อไหร่รัฐบาลจะกำหนดให้การพัฒนาพันธุ์พืชด้วยวิธีพันธุวิศวกรรมและวิธีแก้ไขยีนเป็นวาระแห่งชาติ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cibus.com/press-release.php?date=011221