นักวิทยาศาสตร์อินเดียเรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตใช้พืชที่แก้ไขยีนเพื่อสู้กับผลผลิตที่หายไป

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     เทคนิคการแก้ไขยีน (gene editing) ไม่เหมือนกับเทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อพัฒนาพันธุ์พืชที่ดีขึ้น โดยเทคนิคการแก้ไขยีนหรือเทคนิค CRISPR-Cas9 ทำให้สามารถเพิ่ม ลบหรือถ่ายฝากสารพันธุกรรม เพื่อเพิ่มลักษณะที่เป็นประโยชน์หรือลบสิ่งที่เป็นอันตรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่ในหลาย ๆ กรณีถือว่าปลอดภัย เนื่องจากไม่มีการใช้ยีนแปลกปลอมในการแก้ไขยีนหรือจีโนมของพืช

      CRISPR-Cas9 สามารถปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรมในจีโนมได้ เช่นเดียวกับเครื่องมือแก้ไขยีนอื่น ๆ เช่น zing finger nucleases และ Transcription activator-like effector nuclease ความแตกต่าง คือ วิธีการใหม่หรือวิธีCRISPR-Cas9 เป็นวิธีที่ดัดแปลงมาจากระบบการแก้ไขยีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในแบคทีเรีย ทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีราคาถูกและเร็วขึ้น ซึ่งอินเดียยังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้มีการแก้ไขยีนเพื่อการปลูกพืชที่ดีขึ้นหรือไม่ 

     ChinnusamyVishwanathan นักวิทยาศาสตร์หลัก และหัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยาของพืชสถาบันวิจัยการเกษตรอินเดียเดลี กล่าวว่า “นักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียโต้แย้งว่าเนื่องจาก SDN-1 และ SDN-2 ไม่ได้ใช้ยีนแปลกปลอมใด ๆ พืชที่พัฒนาโดยใช้วิธีการเหล่านี้ควรได้รับการปฏิบัติเหมือนพืชปกติ แต่ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยใช้ SDN-3 สามารถอยู่ภายใต้กฎข้อบังคับของ GMO”

หมายเหตุ
     • SDN ย่อมาจาก Site-Directed Nuclease (เอ็นไซม์ตัดดีเอ็นเอตรงจุด)
     • SDN-1 การตัดจีโนมของพืชโดยไม่ต้องเพิ่มดีเอ็นเอแปลกปลอม การซ่อมแซมส่วนที่ดัดแปลงเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งนำไปสู่การกลายพันธุ์ หรือการลบออก ทำให้ยับยังการแสดงออกของยีนหรือการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของยีน
     • SDN-2 จีโนมพืชที่ถูกตัด จะได้รับการซ่อมแซมโดยมีแม่แบบนิวคลีโอไทด์เสริมให้กับส่วนที่ถูกตัด ซึ่งเป็นการซ่อมแซมส่วนที่ถูกตัดโดยเซลล์เอง และแม่แบบนี้มีการเปลี่ยนแปลงลำดับเล็ก ๆ หนึ่งหรือหลายลำดับในรหัสจีโนมซึ่งกลไกการซ่อมแซมจะคัดลอกลงในสารพันธุกรรมของพืชทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนเป้าหมาย
      • SDN-3จีโนมพืชที่ถูกตัด จะได้รับการซ่อมแซมตามธรรมชาติของเซลล์โดยมีแม่แบบที่เป็นยีนหรือลำดับสารพันธุกรรมอื่น ส่งผลให้เกิดการถ่ายฝากสารพันธุกรรม
       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thehindubusinessline.com/business-tech/plant-breeders-now-have-a-genome-editing-technology-for-improved-crop-varieties/article33590518.eceและ
https://www.nbtplatform.org/background-documents/factsheets/factsheet-site-directed-nucleases.pdf