ทีมวิจัยได้ค้นพบกลยุทธ์ในการทำให้พืชทนเค็มได้มากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

 

       ทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์เกษตร (Centre for Research in Agricultural Economics – CRAG)  ในสหรัฐอเมริกา พบว่าพืชสามารถทนต่อความเค็มของดินได้มากขึ้นโดยการควบคุมยีน TEMPRANILLO (TEM) การค้นพบนี้เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาพันธุ์พืชที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น

      การศึกษาซึ่งนำโดยนักวิจัย Soraya Pelaz เผยให้เห็นถึงบทบาทสำคัญที่ยีน TEM มีบทบาทในการปกป้องพืชจากความเค็มของดินที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการผลิตพืช เพื่อค้นหาว่ายีน TEM ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชภายใต้สภาวะที่มีความเค็มได้

     อย่างไรทีม CRAG ได้วิเคราะห์ต้น Arabidopsis พืชต้นแบบที่กลายพันธุ์ ที่มียีนTEM และไม่มี เมื่อปลูกในดินเค็ม พืชที่ปลูกภายใต้ความเข้มข้นของเกลือสูง จะออกดอกช้ากว่าและแทบไม่มีเมล็ด แต่จากการศึกษาพบว่าพืชกลายพันธุ์ที่ไม่มียีนTEM จะออกดอกเร็วกว่า จึงมีการผลิตเมล็ดดังนั้นวงจรชีวิตที่สั้นลงทำให้รอดพ้นจากการยับยั้งการเจริญเติบโตที่เกิดจากความเค็ม

     Pelazกล่าวสรุปว่า”ผลที่นำเสนอในการศึกษาครั้งนี้ ใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่ในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในดินเค็ม ซึ่งใครจะว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราจะสามารถใช้ยีน TEM ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้หรือไม่”

     ครับ การเรียนรู้การทำงานของยีนจะนำไปสู่การพัฒนาพืชที่มีลักษณะที่ต้องการ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cragenomica.es/crag-news/discovered-new-strategy-achieve-plants-more-tolerant-salinity