การปรับปรุงพันธุ์ระดับโมเลกุล เพื่อผลิตพันธุ์พืชที่ต้านทานโรค ที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องการมาก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      เพื่อต่อสู้กับแมลงศัตรูพืชและโรคพืชที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรักษาความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชากรที่เพิ่มขึ้น นักปรับปรุงพันธุ์ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตร ต้องหมั่นทดสอบและใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ ๆ เพื่อส่งมอบเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้เวลาเร็วมากขึ้น และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ซึ่งเครื่องหมายโมเลกุลจะมีความสำคัญมากในเรื่องนี้ และช่วยเร่งความก้าวหน้าทางพันธุกรรมและส่งมอบเมล็ดพันธุ์ที่ดีกว่าให้กับเกษตรกรรายย่อยทั่วแอฟริกาตอนใต้ของซาฮาราในระยะเวลาที่สั้นกว่ามาก

      “การใช้เครื่องหมายโมเลกุลมีสามขั้นตอน ได้แก่ การค้นหา การตรวจสอบความถูกต้อง และการปรับใช้” Manje Gowda นักปรับปรุงพันธุ์โมเลกุลข้าวโพดอธิบาย

     เขา บอกด้วยว่า ในขั้นตอนการค้นหา มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงอย่างแน่นหนากับลักษณะที่สนใจ ในขณะเดียวกันก็ประเมินว่าลักษณะนั้นซับซ้อนกว่าหรือง่ายกว่าที่จะจัดการโดยมีเครื่องหมายที่ใช้เป็นตัวเลือกเพียงไม่กี่ตัว

     เครื่องหมายโมเลกุลที่ระบุในขั้นตอนการค้นหา จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องในประชากรที่มาจากต้นพ่อและต้นแม่(bi-parental)หรือที่มาจากการผสมกลับที่เป็นอิสระและเชื่อมโยงลักษณะเครื่องหมายซึ่งสอดคล้องกันในภูมิหลังทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันและสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย จากนั้นจะถูกนำไปสู่ขั้นตอนการปรับใช้

     นักวิทยาศาสตร์ของ CIMMYT ได้ค้นพบการเชื่อมโยงลักษณะเครื่องหมายหลายประการ สำหรับโรคพืชรวมถึงโรคแห้งตายในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (maize lethal necrosis – MLN), โรคใบด่างขีดข้าวโพด (maize streak virus – MSV) โรคราสนิมข้าวโพด และโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา turcicum เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทั้งหมดนี้ได้รับการตรวจสอบแล้วในประชากรที่มาจากต้นพ่อและต้นแม่

     ครับ เป็นความพยายามของนักวิจัยที่จะพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดให้ต้านทานต่อโรค ได้เร็วขึ้นนั่นเอง

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cimmyt.org/news/molecular-breeding-speeds-development-of-better-seeds/