แอฟริกาก้าวกระโดดนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์

  •  
  •  
  •  
  •  

ดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     แอฟริกาเป็นผู้นำในเรื่องความก้าวหน้าท่ามกลางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ โดยมีจำนวนประเทศที่ใช้ประโยชน์ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

     รายงานล่าสุดของ International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications (ISAAA) เกี่ยวกับ สถานภาพของพืชดัดแปลงพันธุกรรม / พืชเทคโนชีวภาพ เชิงพาณิชย์ ในปี 2562 แอฟริกาได้รับการยกย่องว่า เป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงสุด ในการได้รับประโยชน์จากการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรม

     ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาความยากจนและภาวะทุพโภชนาการในภูมิภาค ประเทศที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในปี 2561 ได้แก่ แอฟริกาใต้ ซูดาน และ อีสวาตินี (eSwatini) และอีก 3 ประเทศ คือมาลาวี ไนจีเรีย และเอธิโอเปีย ตัดสินใจที่จะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในปี 2562 ส่วนเคนยาประกาศจะปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมในปี
2563

      นอกเหนือจากการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมของประเทศดังกล่าวแล้ว ยังมีความก้าวหน้าที่สำคัญ
ในการวิจัยพืชดัดแปลงพันธุกรรม กฎระเบียบและการยอมรับ ซึ่งเห็นได้ชัดใน โมซัมบิก ไนเจอร์ กานา
รวันดา และแซมเบีย

       จากการเพิ่มอีก 3 ประเทศในแอฟริกา ทำให้จำนวนประเทศที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในปี 2562
เพิ่มขึ้นเป็น 29 ประเทศจาก 26 ประเทศในปี 2561 ประเทศที่มีพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมากที่สุด 5
อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิลอาร์เจนตินา แคนาดา และอินเดีย

       ด้วยมีอัตราการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่สูงใน 5 ประเทศนี้ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 1.95
พันล้านคน หรือร้อยละ 26 ของประชากรทั้งโลก ที่ได้รับประโยชน์จากพืชดัดแปลงพันธุกรรมในปี 2562

      ครับ ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ผลิตผลจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ ถั่วเหลืองและข้าวโพด
แต่เกษตรกรไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูก

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://mailchi.mp/isaaa/new-isaaa-report-global-status-of-biotech-crops-
339129?e=20737c1a15