โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจาก Fukui Prefectural University และองค์การวิจัยการเกษตรและอาหารแห่งชาติ (National Agriculture and Food Research Organization) ในญี่ปุ่นรายงานว่า การใช้ TALENs ในการหยุดทำหน้าที่ของกลุ่มยีน (Multiple Gene Knockout) ในต้นเบญจมาศ ทำให้เกิดการเป็นหมัน ซึ่งการค้นพบนี้ จะช่วยป้องกันการปลิวไปของยีนไปสู่พันธุ์ป่าที่ใกล้ชิด ผลงานนี้ได้ถูกเผยแพร่ใน Scientific Reports.
การแก้ไขจีโนมเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช อย่างไรก็ตาม ในชนิดพันธุ์ที่มีโครโมโซมที่คล้ายคลึงกัน (homologous sets of chromosomes) มากกว่า2 ชุด เช่น เบญจมาศการหยุดทำหน้าที่ของกลุ่มยีนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดการการทำหน้าที่ที่ทับซ้อนกัน
ดังนั้นนักวิจัยจึงค้นหาดีเอ็นเอเสริม (cDNAs) สำหรับยีน CmDMC1 ซึ่งเชื่อมโยงกับการรวมตัวกันใหม่ที่คล้ายคลึงกันแบบไมโอติก(meiotic homologous) ในต้นเบญจมาศ เนื่องจาก cDNA ที่ระบุทั้ง 6 ชนิดพบในตำแหน่งเฉพาะของโครโมโซมจึงสามารถทำให้เกิดการหยุดทำหน้าที่พร้อมกันโดยใช้ TALEN มี2 พันธุ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก ที่TALEN นำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ที่มีตำแหน่ง CmDMC1 ที่มีอยู่กระจัดกระจายทำให้เกิดการเป็นหมันของตัวผู้และตัวเมีย
ครับ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ TALEN ในการแก้ไขยีน เพื่อการพัฒนาพันธุ์พืช
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41598-020-72356-1