โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ทีมผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อหาค่าความทนทานต่อความร้อนของปะการังในแนวปะการัง Great Barrier Reef (ในออสเตรเลีย) การค้นพบของพวกเขาได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการและการอนุรักษ์ปะการังในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษาของพวกเขาตีพิมพ์ใน Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS)
ทีมงานได้พัฒนาระบบ CRISPR-Cas9 ที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อปิดยีน Heat Shock Transcription Factor 1 (HSF1) ในปะการังที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acropora millepora ซึ่งอยู่ในกลุ่มปะการังเขากวาง แบบกิ่งสั้น เป็นพุ่ม อาจแผ่แบนเล็กน้อย ยีน HSF1 ได้ถูกพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความร้อนในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมาย
ผลการศึกษาพบว่าตัวอ่อนที่ถูกดัดแปลงไม่สามารถอยู่รอดในน้ำได้เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึง 34 องศาในขณะที่ตัวอ่อนที่ไม่ได้ดัดแปลงจะรอดชีวิตในน้ำที่มีอุณหภูมิดังกล่าว
ครับ ผลงานวิจัยนี้น่าจะบ่งบอกถึงแนวทางในการวิจัยและพัฒนาในอนาคต เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pnas.org/content/early/2020/11/04/1920779117