เกษตรกรชาวเคนยาเริ่มปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     ในที่สุดเกษตรกรในเคนยาก็ปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม (ฝ้ายบีที) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้เพาะปลูกฝ้ายบีทีในเชิงพาณิชย์เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมฝ้ายส่งเสริมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ฝ้ายบีทีได้รับการปรับปรุงทางพันธุกรรมเพื่อต้านทานการเข้าทำลายของหนอนเจาะสมอฝ้ายแอฟริกัน(African Bollworm)ซึ่งเป็นศัตรูฝ้ายที่ทำลายล้างมากที่สุดในเคนยา จนถึงขณะนี้มีการปลูกแปลงสาธิตฝ้ายบีที จำนวนกว่า 200 แปลงในเคนยาตะวันตกโดยมีแผนจะขยายไปยังส่วนอื่น ๆ ของประเทศ นี่คือความพยายามที่จะเตรียมเกษตรกรให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์โดยการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติทางพืชไร่ที่เหมาะสมและการดูแล

     ในระหว่างการศึกษาดูงานที่จัดโดย Open Forum on Agricultural Biotechnology in Africa (OFAB-Kenya chapter) และพันธมิตร เมื่อวันที่ 28-29 ตุลาคม 2020 ผู้นำเกษตรกรแสดงความหวังใหม่ในการกลับมาทำไร่ฝ้ายที่ทำกำไรได้อีกครั้ง นาย Francis Apailo ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายทางตะวันตกของเคนยากล่าวว่า “ฝ้ายบีทีมอบโอกาสทองให้กับครอบครัวของฉันและสร้างความมั่นคงให้กับอนาคตของลูก ๆ ” เกษตรกรมีความมั่นใจในประสิทธิภาพของฝ้ายบีทีในฟาร์มของตนและเร่งให้มีการส่งมอบเมล็ดพันธุ์อย่างทันท่วงที พวกเขายังแนะนำให้เพิ่มการเยี่ยมเยียนแลกเปลี่ยนระหว่างเกษตรกรต่อเกษตรกรทั้งในประเทศและภูมิภาคเพื่อให้เกษตรกรชาวแอฟริกันสามารถปลูกฝ้ายบีทีได้อย่างเต็มที่ซึ่งพวกเขารู้สึกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและภูมิภาคโดยรวม

     ผู้นำมณฑลร่วมกับเกษตรกรแสดงความเชื่อมั่นในแผนงานของรัฐบาลในการปรับปรุงอุตสาหกรรมฝ้าย นาย Mary Nzomo สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ Trans Nzoia County (CEC) ด้านการเกษตร กล่าวว่า “การปลูกฝ้ายบีทีในเชิงพาณิชย์ไม่เพียงแต่จะเพิ่มผลกำไรของเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังสร้างงานมากมายให้กับเยาวชนของเราด้วย” นอกจากนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปัจจุบันยังได้รับทราบถึงความสำคัญของการกระตุ้นทั่วประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของฝ้ายบีทีและการรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อให้ตรหนักถึงความสำเร็จในการดำเนินโครงการ

   การศึกษาภาคสนามปิดท้ายด้วยการเยี่ยมชม Rift Valley Textiles (RIVATEX) East Africa Ltd ซึ่งเป็นโรงงานสิ่งทอชั้นนำของเคนยา โรงงานที่ล้ำสมัยต้องใช้กำลังการผลิต 40,000 เบล / ปีโดยในปัจจุบันร้อยละ 90 นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ประเทศผลิตได้เพียง 17,000 เบล / ปี ซึ่งไม่เพียงพอที่จะส่งให้โรงงานเดียว การเพาะปลูกฝ้ายบีทีคาดว่าจะสามารถลดการขาดดุลนี้ได้ เกษตรกรชื่นชมโครงสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่รัฐบาลวางไว้เพื่อให้แน่ใจว่ามีตลาดที่พร้อมสำหรับฝ้ายบีที ผู้นำเกษตรกรจากเจ็ดมณฑลที่ปลูกฝ้าย ได้รับการสนับสนุนจากเกษตรกรสมาชิก CEC นักข่าวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรอื่น ๆ

    ครับ ในขณะที่เกษตรกรเคนยากำลังเตรียมความพร้อมในการปลูกฝ้ายบีที เกษตรกรไทยยังรอคอยอย่างมีความหวัง

    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้และการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพอื่น ๆ ในแอฟริกาโปรดติดต่อ Dr. Margaret Karembu ที่ mkarembu@isaaa.org