โดย…ดร.นิพนฑนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
งานวิจัยใหม่จากเอกสาร2ฉบับแสดงให้เห็นว่า SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิด COVID-19 ใช้ตัวรับที่เรียกว่า neuropilin-1 เพื่อการติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ Neuropilin-1 เป็นโปรตีน มีมากในเนื้อเยื่อของมนุษย์หลายชนิดรวมทั้งเนื้อเยื่อทางเดินหายใจหลอดเลือดและเซลล์ประสาทซึ่งแตกต่างจากไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ SARS-CoV-2ยังติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนรวมทั้งเยื่อบุจมูกและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว กลุ่มวิจัยของGiuseppe Balistreri จากUniversity of Helsinki ได้เริ่มต้นศึกษาครั้งแรก เกี่ยวกับว่า เหตุใด SARS-CoV-2 จึงแพร่กระจายในลักษณะที่แตกต่างจาก SARS-CoV อื่น ๆ แม้ว่าจะใช้ตัวรับหลักACE2 ตัวเดียวกันก็ตาม
เพื่อทำความเข้าใจและสามารถอธิบายความแตกต่างเหล่านี้ได้นักวิจัยได้พิจารณาโปรตีนที่ผิวของไวรัสซึ่งเป็นส่วนแหลมที่เหมือนตะขอยึดไวรัสเข้ากับเซลล์ กลุ่มวิจัยของ Giuseppe Balistreri จากUniversity of Helsinki เปิดเผยว่าเมื่อลำดับจีโนม SARS-CoV-2 พร้อมใช้งานพวกเขารู้สึกประหลาดใจที่เห็นว่าเมื่อเทียบกับเชื้อเก่า ๆ ไวรัสโคโรนาตัวใหม่ได้รับ ‘ชิ้นส่วนพิเศษ’ บนโปรตีนพื้นผิวซึ่งนอกจากนี้ยังพบอยู่ในส่วนแหลมที่เหมือนตะขอของไวรัสที่ทำลายล้างมนุษย์หลายชนิดเช่นอีโบลาเอชไอวีและไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้สูงเป็นต้น
พวกเขาพบว่า neuropilin-1 ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นสารที่bindfurin-cleaved ช่วยเพิ่มการติดเชื้อของ SARS-CoV-2 ได้อย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาของการชันสูตร COVID-19 ของมนุษย์พบว่าเซลล์ที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 เป็นบวกสำหรับ neuropilin-1 กลุ่มวิจัยระบุว่าโปรตีน Spike ของ SARS-CoV-2 สามารถจับกับ neuropilin-1 ได้ นักวิจัยสามารถลดการติดเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการได้อย่างมีนัยสำคัญโดยการปิดกั้น neuropilin-1 ด้วยแอนติบอดีโดยเฉพาะ Balistreri กล่าวว่า “ถ้าคุณคิดว่า ACE2 เป็นตัวล็อคประตูเพื่อเข้าสู่เซลล์ neuropilin-1 อาจเป็นปัจจัยที่นำไวรัสไปที่ประตู”
ครับ งานวิจัยทำให้ได้เรียนรู้กลไกในการติดเชื้อ เพื่อเป็นแนวทางในการหาวิธีป้องการติดเชื้อในมนุษย์ได้ครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.genengnews.com/news/sars-cov-2-uses-a-second-receptor-neuropilin-1-to-infect-human-cells/?utm_medium=newsletter&utm_source=GEN+Daily+News+Highlights&utm_content=01&utm_campaign=GEN+Daily+News+Highlights_20201021&oly_enc_id=9019D3683790E5S