ใช้ TALENs แก้ไขจีโนมเป้าหมายมันฝรั่ง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

                                            Farmer’s hands with fresh digging potato plant. Shallow depth of field.

     มหาวิทยาลัยโอซาก้า(Osaka University) แห่งเกาะลูซอน ประเทศญี่ปุ่นและพันธมิตร ได้รายงานเกี่ยวกับการแก้ไขจีโนมเป้าหมายในมันฝรั่งโดยใช้ Transcription Activator-Like Effector Nucleases (TALENs) ในวารสาร Plant Biotechnology

      การแก้ไขจีโนมโดยใช้นิวเคลียสจำเพาะตำแหน่ง (site-specific nucleases)เช่น CRISPR- Cas9 และ TALENs มีประโยชน์อย่างมากในการปรับปรุงพันธุ์พืช

       ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยทำให้มันฝรั่งติดเชื้อ โดย Agrobacterium tumefaciens ซึ่งเป็นพาหะของ TALEN-expression ที่มีเป้าหมายที่ยีน SSR2 (sterol side chain reductase 2 gene) และการสร้างยอดใหม่โดยไม่มีการคัดเลือก

      สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการสร้างสายพันธุ์ที่มียีน disrupted-SSR2 และไม่มียีนถ่ายฝากของ TALEN ยีนซึ่งบ่งบอกถึงการแสดงออกของยีนอย่างชั่วคราว

       จากผลการทดลองพบว่า การกลายพันธุ์ของ Agrobacterial มีศักยภาพในการเร่งการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม เพื่อแก้ไขจีโนมของพืชที่ไม่ใช่พันธุ์แท้ (heterozygous plant)

       ครับ เป็นความก้าวหน้าของการนำเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์พืชครับ!!

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.jstage.jst.go.jp/article/plantbiotechnology/37/2/37_20.0525a/_article/-char/ja/