อิตาลี-อิสราเอล ใช้สาหร่ายขนาดเล็กดัดแปลงพันธุกรรม มาพัฒนาวัคซีน COVID ที่บริโภคได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต

      ความเร่งรีบในการพัฒนาวัคซีนสำหรับ COVID-19 ได้ขยายไปถึงอิตาลีและอิสราเอล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังใช้เครื่องมือของพันธุวิศวกรรม ในการพัฒนาวัคซีนที่กินได้จากสาหร่าย เพื่อต่อต้านโรคที่เกิดจาก coronavirus ชนิดใหม่

        ก่อนหน้านี้ ได้นำเสนอ การทำงานในเม็กซิโก เพื่อพัฒนาวัคซีน COVID-19 ที่กินได้ผ่านทางมะเขือเทศ ซึ่งดีกว่าวิธีการทั่วไปที่ใช้ในการผลิต recombinant vaccines (เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไวรัสโดยการตัดเอา gene หรือ DNA ของจุลชีพที่สร้างแอนติเจนมาต่อเข้าใน DNA ของเซลล์อื่นๆ เพื่อให้สร้างแอนติเจนนั้นๆแล้วจึงนํามาทําให้บริสุทธิ์ก่อนมาทําเป็นวัคซีน) แต่การใช้สาหร่ายขนาดเล็กที่มีเซลล์เดียว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะผลิต recombinant proteins (โปรตีนที่เกิดมาจากการตัดต่อ หรือการรวมกันของ DNA)และวัคซีนที่กินได้มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ 2 กลุ่มกำลังทำงานเพื่อพัฒนาวัคซีนที่กินได้จากสาหร่าย

        กลุ่มแรกอยู่ในประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ที่สุดของ COVID-19 นำโดยโดย ศาสตราจารย์ Roberto Bassiและ Luca Dall’Osto ทีมวิจัยใช้ 2 วิธี ในการนำลำดับดีเอ็นเอที่เป็นรหัสแอนติเจนที่ได้จาก SARS-COV-2 เข้าไปในจีโนมสาหร่ายขนาดเล็ก ลำดับดีเอ็นเอที่สอดแทรกนั้นสอดคล้องกับส่วนหนึ่งของ Receptor Binding Domain (RBD) ซึ่งเป็นผิวโปรตีนที่จะจับกับไวรัสและจำเป็นต้องผูกเข้ากับตัวรับ ACE2 จากนั้นจึงเข้าและทำให้เซลล์นั้นติดเชื้อทั้ง 2 วิธีคือ การดัดแปลงพันธุกรรมในนิวเคลียส และการดัดแปลงคลอโรพลาสต์

         ข้อดีอย่างหนึ่งของสาหร่าย คือ การเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นไปได้ที่จะสะสม recombinant antigen ได้ถึง 1 มก. จากแต่ละกรัมของชีวมวลของสาหร่ายแห้ง จากนั้นสาหร่ายที่ถูกอบแห้ง / แห้งจะบรรจุในแคปซูล เพื่อสร้าง“ วัคซีนที่กินได้”ซึ่งพร้อมที่จะนำมาทดลองในสัตว์ อีก 6 สัปดาห์หน้า

         อีกหนึ่งกลุ่มมาจาก Trans Algae ซึ่งเป็น บริษัท เทคโนโลยีชีวภาพที่ตั้งอยู่ใน Rehovot ประเทศอิสราเอล ใช้วิธีการทำที่คล้ายคลึงกันกับกลุ่มวิจัยในอิตาลี คือ ใช้ลำดับดีเอ็นเอจากส่วนหนึ่งทีเป็นผิวโปรตีนของ SARS-COV2 ที่จะจับกับไวรัส ถ่ายฝากเข้าไปในสาหร่ายสาหร่ายที่ดัดแปลงพันธุกรรมจะเพาะเลี้ยงในถังหมัก ซึ่งจะเพิ่มอัตราการผลิตได้มากกว่าสาหร่ายป่าถึง 30 เท่า และสามารถควบคุมปัจจัยที่เกียวข้องทั้งหมดในวิธีเพาะเลี้ยงที่ถูกต้อง และจะนำไปทดสอบกับสัตว์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

          ปัญหาหลักของทั้ง 2 กลุ่ม คือ การกำกับดูแล ที่จะอนุญาตให้นำมาใช้ในการป้องกัน COVID 19 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

          ครับ นี่เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมในการพัฒนาวัคซีนที่กินได้ จากสาหร่ายขนาดเล็ก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาที่หลายประเทศนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

         อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2020/06/italy-and-israel-bet-on-gm-microalgae-to-develop-edible-covid-vaccine/