โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ผลการศึกษาชุดแรกที่ได้จากการศึกษาภูมิคุ้มกันของคนจำนวน 149 คนที่หายจาก COVID-19 แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าปริมาณของแอนติบอดีที่พวกเขาสร้างขึ้นจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้น มีไม่น้อยที่มีความสามารถทำให้ไวรัสมีความเป็นกลาง (ไม่ทำงาน) และพบว่า มีแอนติบอดีที่แตกต่างกัน 3 ชนิด มีศักยภาพมากที่สุด
เป็นเวลามากกว่า 5 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนมีผู้ป่วย 149 คนที่หายจาก COVID-19 ไป Rockefeller Hospital เพื่อบริจาคพลาสมา ซึ่งเป็นส่วนของเลือด ที่มีแอนติบอดีและภูมิคุ้มกัน B-cells ที่ผลิตแอนติบอดี นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดสอบตัวอย่างพลาสมาที่ได้ในการทำให้ไวรัสมีความเป็นกลาง และพบว่า พลาสมาที่ได้ส่วนใหญ่ทำให้ไวรัสมีความเป็นกลางอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง แต่สำหรับผู้บริจาคพลาสมาคิดเป็นร้อยละ 1 นั้น ทำให้ไวรัสมีความเป็นกลางอยู่ในระดับสูงมากอย่างน่าทึ่ง
กลุ่มผู้บริจาคนี้มีความสำคัญ เพราะในเซรุ่ม มีแอนติบอดีจำนวนมากที่ทำให้ไวรัสมีความเป็นกลาง และทำให้ผู้วิจัยสามารถจำแนก B-cells ที่ผลิตแอนติบอดีที่หายากนี้ได้ จากแอนติบอดีจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยผู้หายป่วยที่มีศักยภาพในการสร้างพลาสมาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด
ทีมวิจัยสามารถระบุได้ 40 ชนิดที่ทำให้ไวรัสมีความเป็นกลาง และ เป็นศูนย์อีก 3 ชนิด แม้จะในความเข้มข้นต่ำ ทีมวิจัยจะได้ทำการผลิตแอนติบอดีที่มีศักยภาพมากที่สุดนี้ และกำลังทำงานเพื่อพัฒนาแอนติบอดีนี้ สำหรับใช้ในคลินิก
ครับ พอจะสรุปได้ว่า พลาสมาที่ได้จากผู้ที่หายป่วยทุกคน มีประสิทธิภาพทำให้ไวรัสมีความเป็นกลางต่างกัน ตั้งแต่ระดับต่ำถึงระดับสูง ที่สำคัญคือนักวิจัยสามารถจำแนก B-cells ที่ผลิตแอนติบอดีที่หายากนี้ได้ ซึ่งวิจัยจะได้นำไปทำการผลิตแอนติบอดีที่มีศักยภาพมากที่สุดนี้ สำหรับใช้ในคลินิก ครับนับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ และคาดหวังถึงความสำเร็จในอนาคต รอฟังข่าวครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rockefeller.edu/news/28079-covid19-antibody-response/