เคนยาผลักดันการปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตหน้ากากอนามัยที่เพิ่มขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    รัฐบาลเคนยาได้เริ่มแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม (GMcotton) และเมล็ดพันธุ์ฝ้ายลูกผสม เพื่อเพิ่มการผลิตฝ้ายให้ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของประเทศสำหรับการผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อตอบสนองต่อ COVID-19โดยเกษตรกรจะได้รับเมล็ดฝ้ายบีที 1 ตัน เพื่อปลูกเป็นแปลงสาธิตจำนวน 720 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 62,500 ไร่

      นอกจากนี้รัฐบาลยังแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ฝ้ายลูกผสมจำนวน 16 ตัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูปลูกเดือนเมษายน / พฤษภาคมการสนับสนุนนี้ คาดว่าจะช่วยให้อุตสาหกรรมสิ่งทอมีวัตถุดิบซึ่งขณะนี้ขาดตลาด เมล็ดพันธุ์ฝ้ายบีทีและเมล็ดพันธุ์ฝ้ายลูกผสมที่ผ่านการรับรองสามารถผลิตฝ้ายได้มากกว่า 320 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยในปัจจุบันที่ 91.5 กิโลกรัมต่อไร่

       Anthony Muriithi ผู้อำนวยการทั่วไปขององค์การกำกับดูแลเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food Authority)กล่าวว่า มีความต้องการฝ้ายเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยและรัฐบาลท้องถิ่น สนับสนุนโรงงานแห่งใหม่ ให้ลงทุนผลิตอุปกรณ์ป้องกัน COVID-19 ขั้นพื้นฐาน เช่น หน้ากากอนามัยโรงงานบางแห่งเช่นศูนย์สิ่งทอ Kitui County ได้เปลี่ยนรูปแบบไปเพื่อผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จำนวน 30,000 ชิ้นต่อวัน จึงมีความต้องการฝ้ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ก่อนหน้านี้โรงงานเหล่านี้แทบจะไม่มีฝ้ายเลย

        องค์กรการกุศล Ngilu ของรัฐบาลท้องถิ่น Kitui County กล่าวว่า การผลิตอุปกรณ์ป้องกัน COVID-19 (personal protective equipment – PPE) ภายในประเทศควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่นกำลังพิจารณาสร้างโรงงานอีกสองแห่งจากเงินทุนที่ได้รับจากการขายหน้ากากอนามัย รวมถึงการฝึกอบรมท้องถิ่นอื่น ๆ เกี่ยวกับวิธีการทำอุปกรณ์แทนที่จะพึ่งพาการนำเข้า

        Muriithi ได้กล่าวกับสมาคมวิทยาศาสตร์ (Alliance for Science) ว่า การผลิตฝ้ายที่เพิ่มขึ้นหมายถึง ผู้หีบฝ้ายและเกษตรกรจะทำให้เส้นโค้งของความต้องการราบลงในห้าเดือนข้างหน้าเมื่อเก็บเกี่ยวฝ้าย และ เคนยานำเข้าฝ้ายร้อยละ 80 จากประเทศเพื่อนบ้านเช่นยูกันดา ฝ้ายเป็นพืชที่มีห่วงโซ่คุณค่าที่ซับซ้อนเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม เช่น เกษตรกร โรงหีบฝ้าย และผู้บริโภค”

      “แม้ว่าความต้องการผ้าจะสูง แต่อุตสาหกรรมต่อพ่วงเช่น น้ำมันพืชก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน” เขากล่าวเสริม “ในปัจจุบันเรากำลังนำเข้าน้ำมันพืชจำนวนมาก ด้วยการเพิ่มการผลิตฝ้ายน้ำมันฝ้ายซึ่งปราศจากคอเลสเตอรอลจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้บริโภค เรายังเห็นโอกาสในการเพิ่มอาหารที่ได้มาจากนม –ปศุสัตว์ที่ให้อาหารที่ทำจากเมล็ดฝ้าย”“นอกจากนี้ยังมีความต้องการแผ่นผ้าอนามัยผ้าอ้อมและผ้าห่มซึ่งส่วนใหญ่ทำจากผ้าฝ้าย” เขา กล่าว

       ข้อมูลจาก Ann Nyaga หัวหน้าฝ่ายบริหารของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์การประมงและสหกรณ์ ระบุว่า รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวน 640,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อจัดหาเมล็ดพันธุ์และวางแผนที่จะได้รับเมล็ดพันธุ์เพิ่มมากขึ้นในช่วงสั้น ๆ ของฤดูฝนเดือนตุลาคม / พฤศจิกายนเกษตรกรได้รับเมล็ดฝ้ายบีทีฟรีในปีนี้เนื่องจากรัฐบาลออกเงินช่วยเหลือค่าเมล็ดพันธุ์ทั้งหมดการลงทุนในครั้งนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มการผลิตฝ้ายจากต่ำสุดในปัจจุบัน 29,000 เบลล์ต่อปีเป็นประมาณ 200,000 เบลล์ต่อปีในมาตรการระยะสั้น

      Nyaga กล่าวว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายประมาณ 30,000 รายในขณะที่อุตสาหกรรมสามารถรองรับเกษตรกรได้มากกว่า 200,000 ราย และ การค้าขายมีศักยภาพที่จะจ้างคนทำงานจำนวน 1.5 ล้านคนภายใต้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าฝ้าย รายได้ของผู้ปลูกจะนำไปสู่การลดความยากจนโดยเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง

       การผลักดันนี้เป็นส่วนหนึ่งของวาระการประชุม“Big-4” ของประธานาธิบดี Kenyatta โดยรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเกษตรกรด้วยปัจจัยการผลิต การเข้าถึงและการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงการสนับสนุนด้านราคาการสร้างศูนย์รับซื้อเมล็ดพันธุ์ฝ้าย การสร้างโรงงานหีบฝ้ายที่ทันสมัย และการค้าฝ้ายบีทีเชิงพาณิชย์

        จากกระทรวงเกษตรปศุสัตว์การประมงและสหกรณ์ แจ้งว่า เมล็ดพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมและพันธุ์ลูกผสมชุดแรก จะถูกแจกจ่ายไปยังเขต Busia, Bungoma, Siaya, Kisumu, Homabay, Baringo, Marakwet, Kilifi, Kwale, Tana River และ Lamu. การรับสมัครเกษตรกรยังคงดำเนินต่อไปโดยคาดว่าจะมีการเพาะปลูกฝ้ายบีทีเชิงการค้าอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงการเพาะปลูกฤดูต่อไป

        James Onyango เกษตรกรรายหนึ่งในเขตท้องถิ่น กล่าวว่า“ฉันได้เตรียมที่ดินของฉันเพื่อปลูกฝ้ายบีทีแล้ว” และ “ในอีกสามเดือนครึ่งฉันจะเก็บเกี่ยวมัน จากสิ่งที่เราเห็น คือ ความต้องการฝ้ายเพิ่มขึ้น” และ “ด้วยการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นเคนยาจะสามารถลดการนำเข้าฝ้ายจากประเทศเพื่อนบ้านและพัฒนาความพอเพียงของตัวเองได้”

       ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ระบุ การส่งออกสิ่งทอของเคนยาได้รับโควต้าและการเข้าถึงตลาดปลอดภาษีในสหรัฐอเมริกาภายใต้พระราชบัญญัติการเติบโตและโอกาสของแอฟริกา (African Growth and Opportunity Act – AGO) ด้วยการเพิ่มการยอมรับเทคโนโลยีเช่นฝ้ายบีทีที่เพิ่มขึ้นทำให้รายได้ที่ได้รับจากทุกภาคส่วนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

     ครับ เป็นการมองเห็นถึงความสำคัญในเรื่องความมั่นคงและยังยืนของการเพาะปลูกฝ้ายและอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ COVID19 ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภายนอก

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2020/04/kenya-pushes-gmo-cotton-farming-to-meet-soaring-demand-for-masks/