โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เมื่อพืชเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นน้ำตาล เซลล์ของพืชก็เหมือนกำลังเล่นอยู่กับไฟ ซึ่งในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ยังสร้างผลพลอยได้ทางเคมีที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับกลไกการแปลงสภาพแสงในกระบวนการสังเคราะห์แสง และเมื่ออากาศร้อนขึ้นกระบวนการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเร่งปฏิกิริยาทางเคมีนั้นให้เร็วขึ้น ในขณะที่ปฎิริริยาอื่น ๆ ช้าลง
ทีมนักพันธุศาสตร์ได้ดัดแปลงพันธุกรรมพืช เพื่อให้พืชนั้นสามารถซ่อมแซม ความเสียหายที่เกิดจากความร้อนได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่สามารถช่วยรักษาผลผลิตพืชจากภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เกิดคลื่นความร้อนได้ทั่วไป และด้วยความประหลาดใจการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้พืชมีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิต เพิ่มขึ้นที่อุณหภูมิปกติ
ทีมวิจัยพบว่า ต้นกล้า Arabidopsis (พืชต้นแบบที่ใช้ในการศึกษา) ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม สามารถรอดชีวิตจากความร้อนสูงในห้องปฏิบัติการ (8.5 ชั่วโมงที่ 41 ° C) ซึ่งทำให้พืชที่ใช้เปรียบเทียบตายเป็นส่วนใหญ่ ยีนชนิดเดียวกันกับ Arabidopsis ยังป้องกันยาสูบและข้าวจากความร้อน จากพืชทั้ง3 ชนิด
การสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโตลดลงน้อยกว่าในพืชที่ใช้เปรียบเทียบที่รอดตาย และในปี 2560 เมื่อที่เมืองเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) มีอุณหภูมิเกิน 36 ° C เป็นเวลา 18 วัน ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกในแปลงทดสอบให้ผลผลิตมากกว่าพืชที่ใช้เปรียบเทียบร้อยละ 8 – 10 ผลงานวิจัยนี้ได้ถูกลงพิมพ์ในวารสาร Nature Plants
ครับ ในอนาคตข้างหน้า คงไม่ต้องกลัวว่าจะอดอาหารในสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกันแล้วครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencemag.org/news/2020/04/rice-genetically-engineered-resist-heat-waves-can-also-produce-20-more-grain#