โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต
นักวิจัยและหุ้นส่วนของมหาวิทยาลัยคีล (University of Kiel) ได้ใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อแก้ไขยีนสามชุดใน oilseed rape (พืชที่นำเมล็ดมาสกัดน้ำมัน) เพื่อลดกรดไฟติกในเมล็ด ซึ่งผลการศึกษาได้ถูกเผยแพร่ในวารสาร Plant Biotechnology
กรดไฟติกเป็นแหล่งสำคัญของฟอสฟอรัสในพืช แต่ถือว่าเป็นสารต้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว รวมถึงมนุษย์ เนื่องจากมีผลเสียต่อการดูดซึมธาตุอาหารที่จำเป็น ยิ่งไปกว่านั้นกรดไฟติก ที่ไม่ถูกย่อยจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วของตะไคร่หรือสาหร่ายในแหล่งน้ำและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
เพื่อลดกรดไฟติกใน oilseed rape นักวิจัยได้ให้ยีน BnITPK สามชุด ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกรดไฟติกในพืชไม่ทำงาน จากการใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์ ทำให้ได้พันธุ์กลายที่มีกรดไฟติกต่ำ ซึ่งมีฟอสฟอรัสอิสระเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
จากผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า สามารถใช้เทคนิคนี้ในการปรับปรุงพันธุ์ oilseed rape หรือ rapeseed เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนโดยไม่มีผลเสียต่อปริมาณน้ำมัน
ครับ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการแก้ไขยีน โดยใช้เทคนิค CRISPR-Cas9 ครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1111/pbi.13380