อินเดียพัฒนาพันธุ์ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนเค็มได้แล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

                                                                                                      Rice bean in laboratory

          นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Bose (Bose Institute) ในเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวดัดแปรพันธุกรรมที่ทนเค็ม ซึ่งเมื่อปลูกภายใต้สภาวะโรงเรือนกระจก แสดงให้เห็นว่า มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติ

          นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ยีนจากข้าวป่าสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า Porteresiacoarctata มีถิ่นกำเนิดในบางส่วนของเอเชียใต้ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น halophyte (พืชที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความเค็มสูง) ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยยีนทนความเค็ม พวกเขาสามารถระบุยีน PcINO1ซึ่งเป็นรหัสสำหรับเอนไซม์ที่ทนเค็มที่สังเคราะห์ inositol แม้ว่าจะอยู่ในที่ที่มีเกลือ

           Inositol เป็นสารคล้ายวิตามินที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องช่วยลดความเครียดและเป็นตัวเปิดปิดเส้นทางที่สำคัญสำหรับการสื่อสารเรื่องการทนเค็ม โดยการแสดงออกที่มากกว่าปกติของ PcINO1 ในข้าวพันธุ์IR64 ซึ่งเป็นข้าวชนิด อินดิก้า(Indica rice – ข้าวที่มีลักษณะเม็ดเรียวยาวรี ลำต้นสูง)

            พวกเขาพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ที่สามารถทนต่อเกลือได้สูงถึง 200mcmol ต่อ Li หรือประมาณครึ่งหนึ่งเป็นน้ำเกลือเหมือนน้ำทะเล อ้างถึงหัวหน้านักวิทยาศาสตร์นี้ก็อาจบ่งบอกได้ว่าการจัดการ inositol metabolic pathway (กระบวนการสร้างและสลาย inositol) อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะต่อสู้กับความเครียดต่อเกลือในพืช

           ความสำคัญของการค้นพบใหม่นี้ มีความสำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์พืชที่สามารถอยู่รอดได้ในความเค็มและภัยแล้งซึ่งเป็นเรื่องของความกังวลและการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

           ครับ หลายประเทศพยายามใช้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาพันธุ์พืช แต่ประเทศไทยยังไม่เห็นความจำเป็นของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่กลับทำไปเน้นในรูปแบบพอเพียง

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41598-019-41809-7