โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2562 ในวารสาร Nature Sustainability แสดงให้เห็นว่าการปลูกข้าวโพดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงได้อย่างไร ซึ่งมลพิษทางอากาศ (PM2.5) จากการปลูกข้าวโพดนั้นอยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 4,300 คนต่อปีในสหรัฐอเมริกา
การปลูกข้าวโพดส่งผลให้มีการปล่อยฝุ่นละออง(PM2.5) ซึ่งเป็นมลพิษอันตรายที่มีขนาดเล็กมากจนสามารถสูดดมเข้าไปในปอดและอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ มลพิษดังกล่าวนี้มาจากแอมโมเนียซัลเฟอร์ออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่ปล่อยออกมาระหว่างการใส่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอกการใช้เครื่องจักรในฟาร์ม และฝุ่นที่เกิดจากการไถและการปลูก
มีความชัดเจนว่า การศึกษานี้ไม่ได้มองภาพโดยรวมทั้งหมด นักวิจัยไม่ได้รวมถึงมลพิษที่เป็นผลมาจากข้าวโพดหลังจากที่มันโตขึ้น เช่นเดียวกับการผลิตเอทานอลเชื้อเพลิงชีวภาพหรืออาหารสัตว์ และนี่คือปัญหาเล็ก ๆ ในประเทศของเรา (สหรัฐอเมริกา) – และของโลก – ปัญหามลพิษทางอากาศ องค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีคน 7 ล้านคนทั่วโลกที่เสียชีวิตก่อนกำหนดทุกปีเพราะอากาศไม่ดี
ผู้ศึกษาเรื่องนี้ คือ Jason Hill, Department of Bioproducts and Biosystems Engineering, University of Minnesota, Saint Paul, MN, USA
ครับ การศึกษานี้กำลังชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติในการเพาะปลูกข้าวโพด ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งต้องมีการปรับวิธีการปฏิบัติ เพื่อลดปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ดีคงไม่ใช่เฉพาะข้าวโพดเท่านั้น น่าจะต้องครอบคลุมไปถึงทุกส่วนในภาคการเกษตรด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41893-019-0261-y.epdf?shared_access_token=JQ8r_eSu5RRl7Zu-l1Ff-NRgN0jAjWel9jnR3ZoTv0Obt0HKn7VNHFalevA4bh2YH67zd3ud4nQsopjtEKhR61xPNkxd4kihNLpprrqSgUIyw7Vecb7fC84rgvhMTBIEgKINTeB2eAIWw1EXqT5JoQ%3D%3D