ผลกระทบจากการไม่ใช้สาร”ไกลโฟเสท”กำจัดวัชพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

บทความชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Agbioforum ชี้ให้เห็นว่า ถ้าเกษตรกรใน 7 ประเทศในเอเชียและออสเตรเลียไม่สามารถใช้สารกำจัดวัชพืช “ไกลโฟเสท” (glyphosate) ได้อีก จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการควบคุมวัชพืชที่สูงขึ้นประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชก็น้อยลง การเข้าไปในแปลงปลูกก็ยากขึ้น และที่สำคัญมีผลผลิตที่ลดลง

        บทความชิ้นนี้เขียนโดย Graham Brookes จาก บริษัท PG Economics Ltd ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ เนื้อหาของบทความเป็นเรื่องของการตรวจสอบการใช้ glyphosate ในปัจจุบัน เหตุผลในการใช้และเกษตรกรจะต้องเปลี่ยนแปลงการควบคุมวัชพืชอย่างไร ถ้าพวกเขาไม่สามารถใช้glyphosate ได้อีกต่อไป

         เป็นการศึกษาใน 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เนื่องจากเป็นประเทศที่ใช้ glyphosate ในการเกษตรเป็นสำคัญ และเป็นประเทศที่อาจพิจารณากำหนดให้มีข้อจำกัดในการใช้ glyphosate และบางประเทศเกษตรกรปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทาน glyphosate

        Glyphosate มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อการควบคุมวัชพืชทั่วเอเชียและมีทางเลือกเพียงไม่กี่อย่างที่ให้ประสิทธิภาพเทียบเท่า glyphosate ในแปลงเพาะปลูกพืช หากไม่มีการใช้ glyphosate เกษตรกรบอกว่าพวกเขาจะต้องใช้สารกำจัดวัชพืชหลายชนิด และ/หรือ ต้องพึ่งพาตัวเลือกในการกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องจักรกล/แรงงาน ทางเลือกเหล่านี้จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งรวมถึงการควบคุมวัชพืชที่ลดลงระดับศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้นการเข้าถึงพื้นที่ปลูกที่ลดลงและต้นทุนการควบคุมวัชพืชที่สูงขึ้น

        การศึกษาคาดการณ์ว่า ค่าใช้จ่ายในการควบคุมวัชพืชรายปีจะเพิ่มขึ้นทั้ง 7 ประเทศระหว่าง 1.4 ถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์ โดยมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตั้งแต่ 22 ถึง 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกตาร์

        นี่คือการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตอย่างมีนัยสำคัญและหากรวมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากผลผลิตที่ต่ำ ก็จะส่งผลถึงการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระดับโลกสำหรับเกษตรกรที่ไม่สามารถใช้glyphosate

       ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของการปลูกข้าวโพดและฝ้ายดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ทนทานต่อ glyphosate ในออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ปัญหานี้ก็จะหมดไปเช่นกัน หากปราศจาก glyphosate

       ที่สำคัญเกษตรกรจะไม่มีความตระหนักถึงผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เช่นการไม่ไถพรวนหรือลดการไถพรวน การปล่อยคาร์บอนในระดับต่ำการพังทลายของดินน้อยลงและการเพิ่มความชื้นในดินที่มากขึ้นอีกด้วย

       ครับ นั่นเป็นผลงงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าถ้าไม่ใช่สารกำจัดวัชพืช glyphosate แล้ว จะมีผลกระทบอะไรบ้าง เชื่อหรือไม่ก็ลองพิจารณาดูนะครับ!

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.agbioforum.org/v22n1/v22n1-brookes.pdf