กุหลาบสีฟ้าดอกแรกของโลกจากการดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

            เป็นเวลาหลายศตวรรษที่มีความพยายามปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์กุหลาบสีฟ้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในปัจจุบันนี้ต้องขอบคุณเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะมีพันธุ์ดอกกุหลาบสีฟ้า นักวิจัยได้ค้นพบวิธีในการแสดงออกของเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีจากแบคทีเรีย ในกลีบดอกกุหลาบสีขาวและสร้างสีฟ้า ซึ่งผลการวิจัยเบื้องต้นนี้ได้นำมารายงานใน ACS Synthetic Biology

             นักวิจัยได้เลือกเอนไซม์จากแบคทีเรียสองชนิดที่สามารถเปลี่ยน L-glutamine ซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ในกลีบกุหลาบ เป็นในเม็ดสีฟ้า ที่เรียกว่า indigoidine นักวิจัยได้ดัดแปลงสายพันธุ์แบคทีเรีย Agrobacterium tumefaciens ที่มียีนที่สร้างเม็ดสีทั้งสองชนิดซึ่งมีต้นกำเนิดจากแบคทีเรียชนิดอื่นซึ่ง A. tumefaciens มักถูกใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพของพืชเพื่อถ่ายฝากดีเอ็นเออื่นไว้ในจีโนมพืช

[adrotate banner=”3″]

            เมื่อนักวิจัยฉีดแบคทีเรียที่ดัดแปลงพันธุกรรมเข้าไปในกลีบกุหลาบสีขาวแบคทีเรียจะถ่ายฝากยีนที่ผลิตเม็ดสีดังกล่าวไปจีโนมของกุหลาบและสีฟ้าก็จะกระจายจากบริเวณฉีด

             แม้ว่าสีที่ปรากฏนั้นจะสั้นและไม่โปร่งใส นักวิจัยระบุว่ากุหลาบที่ผลิตในการศึกษานี้เป็นดอกกุหลาบสีฟ้าดอกแรกของโลก และขั้นตอนต่อไปคือการสร้างดอกกุหลาบที่ผลิตเอนไซม์ทั้งสองตัวเองโดยไม่ต้องฉีด

              ครับ ถ้านักวิจัยยังไม่หยุดคิดพัฒนา โอกาสจะเห็นดอกกุหลาบสีฟ้าในอนาคตแน่นอนครับ!

             อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.acs.org/content/acs/en/pressroom/presspacs/2018/acs-presspac-october-10-2018/blue-roses-could-be-coming-soon-to-a-garden-near-you.html