“เมียนมา”กำลังเดินเครื่องเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมวิชาการเกษตรของประเทศเมียนมา องค์การไอซ่า (ISAAA) และนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Tsukuba ได้จัดสัมมนาวิชาการ โดยมีนักวิจัยนักวิชาการและผู้บริหารของรัฐบาลจำนวน 50 คนได้เข้ามาร่วมฟัง เพื่อประเมินสถานภาพของการวิจัยและการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561

ดร. Rhodora R. Aldemita ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้ทั่วโลกขององค์การไอซ่าเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชได้นำเสนอประเด็นสำคัญจากรายงานขององค์การไอซ่า ที่เกี่ยวกับสถานภาพของการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงการค้าในปี 2560 และนาย BhagirathChoudharyจากศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การไอซ่า ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญในการยอมรับเทคโนโลยีชีวภาพในเอเชีย รวมทั้งผู้อำนวยการกรมวิชาการเกษตรของเมียนมา นาย Tint Tunได้กล่าวขอบคุณผู้จัดงานและระบุถึงความจำเป็นที่ประเทศจะต้องปรับปรุงร่างแนวทางความปลอดภัยทางชีวภาพเสริมสร้างความสามารถในการวิจัยและกำลังคนและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อปฏิวัติเกษตรกรรมในเมียนมา

[adrotate banner=”3″]

รองอธิบดีกรมการวางแผน นายKyawSwe Lin ได้รับทราบผลงานของฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่มีส่วนช่วยเศรษฐกิจของเมียนมา และกล่าวว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดอื่น ๆ สามารถปลูกได้ในประเทศเมื่อแนวทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพได้รับการปรับปรุงและมีประสิทธิภาพนักวิทยาศาสตร์เก้าคนจากสถาบันการวิจัยทั่วประเทศได้กล่าวถึงโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังจะเกิดขึ้นตลอดจนความท้าทายและความต้องการของพวกเขา ปัจจุบันการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพในเมียนมา ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อการใช้เครื่องหมายระดับโมเลกุลช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืช และการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ฝ้ายบีทีจีกับฝ้ายพันธุ์อื่น ๆ

ตัวแทนจากองค์การไอซ่ามหาวิทยาลัย Tsukuba รวมถึงจากหน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯระบุว่าพวกเขายินดีที่จะช่วยประเทศเมียนมา ในการกำหนดศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ นอกจากนี้ยังกำหนดขั้นตอนสำคัญที่เมียนมาสามารถดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปได้

ครับ อีกไม่นาน การเกษตรไทยจะต้องสั่นคลอน อย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.isaaa.org/kc/cropbiotechupdate/article/default.asp?ID=16857