พบยีนในข้าวทำให้รอดอยู่ได้ในสภาพน้ำท่วม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

          ทีมวิจัยระหว่างประเทศประกอบด้วยทาเคชิ คุโรฮะ (Takeshi Kuroha)จากมหาวิทยาลัยโตโฮกุ (Tohoku University)โมโตยูกิ อะชิคาริ (MotoyukiAshikari)จากมหาวิทยาลัยนาโกย่า(Nagoya University) และ ซูซานอาร์แมคคอซ(Susan R McCouch)จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล(Cornell University) ได้ทำงานวิจัยร่วมกันทั้งในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

         การวิจัยร่วมกันในครั้งนี้ได้ค้นพบยีนในข้าวที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดในสภาพน้ำท่วม ทีมงานยังได้เปิดเผยถึงหน้าที่ในระดับโมเลกุลและประวัติการวิวัฒนาการ

         ทีมวิจัยได้จำแนกอัลลีล (รูปแบบของยีนที่แสดงออกในแบบลักษณะต่าง ๆ ในลักษณะของ ทางพันธุกรรมหนึ่ง ๆ) ที่หายากของยีนกึ่งเตี้ย-1 ( semi-dwarf 1 – SD1) ที่รับผิดชอบในการปรับตัวให้ข้าวเจริญเติบโตได้ในน้ำลึก การถ่ายทอดยีนดังกล่าว ของยีน SD1 จะช่วยให้ข้าวในน้ำลึกสามารถปรับตัวให้เข้ากับน้ำท่วมได้โดยการเพิ่มความสูงของต้น
         การแสดงออกของยีนSD1 จะถูกกระตุ้นที่เป็นผลมาจากการสร้างขึ้นของก๊าซเอทิลีนในน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อพืชจมอยู่ใต้น้ำ ในขณะที่พืชมีความรู้สึกได้ถึงก๊าซเอทิลีน, ก็จะมีการตอบสนองทางพันธุกรรมโดยไปกระตุ้นให้มีการแสดงออกของยีน SD1 โปรตีนที่เกิดจากการแสดงออกของยีน

         แล้วจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน (gibberellin – GA4)ที่ส่งเสริมการยืดตัวของลำต้นอย่างรวดเร็วและการเจริญเติบโตของพืช
           ครับ เราทราบกันดีว่า ข้าวขึ้นน้ำ จะมีการยืดลำต้นให้พ้นเหนือน้ำ แต่เราไม่ทราบว่ามียีนอะไรควบคุม และมีกลไกอย่างไร  ตอนนี้นักวิจัยค้นพบแล้วครับ
           อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://news.cornell.edu/stories/2018/07/rice-survives-long-term-floods-due-newly-discovered-genetic-mechanism