บราซิล:เศรษฐกิจเติบโตจากถั่วเหลืองจีเอ็มโอ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

บราซิลกลายเป็นประเทศที่มีความร่ำรวยขึ้นในศตวรรษที่ 20 เกษตรกรได้ออกจากพื้นที่เกษตรและหันหน้าไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ในความเป็นจริงแล้วนั้นเกิดอะไรขึ้น ก็เป็นเพราะโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่เป็นตัวล่อให้เกษตรกรออกจากพื้นที่เกษตรหรือเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในการทำการเกษตรที่นำไปสู่ภาคอุตสาหกรรมนั่นเอง บางครั้งเกษตรกรเริ่มเบื่อภาคเกษตรเพราะปัญหามากมาย โดยเฉพาะด้านศัตรูทั้งแมลงและวัชพืช

กระนั้นในปี 2546 บราซิลได้เริ่มมีการใช้ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานสารกำจัดวัชพืชของบริษัทมอนซานโต้ อย่างถูกกฎหมาย จึงได้มีการศึกษาว่า การทำธุรกิจอย่างไรในบราซิล ที่นำไปสู่ประโยชน์อันยิ่งใหญ่จากการเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าว

อันนี้ผู้ที่ได้ทำการศึกษาโดย Jacopo Ponticelli ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านการเงินที่ Northwestern University ซึ่งนรายงานชิ้นแรก ผู้วิจัยพบว่า การเปลี่ยนมาใช้เมล็ดถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมทำให้เกษตรกรมีเวลาว่างที่จะหางานทำนอกพื้นที่เกษตร ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโต

[adrotate banner=”3″]

ในรายงานชิ้นที่สอง ผู้วิจัยพบว่า การเปลี่ยนมาปลูกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือเก็บในธนาคาร ซึ่งนำไปสู่การเข้าถึงศูนย์สินเชื่อในเมืองที่มีดอกเบี้ยถูกลง ทำให้ธนาคารสามารถจัดหาเงินทุนให้แก่ บริษัท ผู้ผลิตและบริการได้มากขึ้น
Ponticelli กล่าวว่า งานวิจัยนี้ไม่เพียงแต่ เปิดเส้นทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ยังท้าทายความเชื่ออย่างกว้างขวางว่า การสร้างทรัพยากรสู่การเกษตรทำให้เกิดการเติบโตและมีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น

ครับประเทศไทยเลือกที่จะพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนโยบายการทำเกษตรอินทรีย์ครับ ช่วยได้ไหมนี่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://phys.org/news/2018-06-genetically-soybean-modernize-economy.html