โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ในการเลี้ยงสุกรหรือหมู เรามักจะพบว่าการย่อยอาหารของหมู มักจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ทำให้มีการปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัส และไนโตรเจนออกสู่สิ่งแวดล้อม
การแก้ปัญหาดังกล่าวนักวิจัยจึงได้พัฒนาหมูดัดแปลงพันธุกรรม ที่มียีนที่เป็น single-copy quad-cistronic และแสดงเอนไซม์จุลินทรีย์สามตัวพร้อม ๆ กัน
นั่นคือ β-glucanase, xylanaseและ phytaseในต่อมน้ำลาย ซึ่งสามารถย่อย โพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง (non-starch polysaccharides – NSPs) และไฟเตท ในอาหารได้เพิ่มขึ้น
ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในมูลสุกร ลดลงไปร้อยละ 23.2 – 45.8 และมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นในหมูบ้านร้อยละ 23.0 และในหมูป่าร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุที่ใกล้เคียงกัน ภายใต้การให้อาหารเหมือนกัน อัตราการเปลี่ยนอาหารของหมูดัดแปลงพันธุกรรม จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 – 14.5 เมื่อเทียบกับหมูป่า
การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า หมูดัดแปลงพันธุกรรม มีประสิทธิภาพในการใช้อาหารเพิ่มขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมนี้
นับว่าเป็นทางแก้ปัญหาทางชีวภาพที่มีคุณค่า จากการย่อยอาหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการปลดปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่อุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูกำลังขยายตัวทั่วโลก
ครับ ในอนาคต คงไม่ต้องห่วงเรื่องมลภาวะจากอุจจาระหมูแล้วครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://elifesciences.org/articles/34286