นักวิจัยอาร์เจนตินาสำเร็จแก้ไขยีนในมันฝรั่ง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

         นักวิจัยของ INTA [InstitutoNacional de TecnologíaAgropecuaria] Balcarce ในอาร์เจนตินาได้แก้ไขจีโนม (ยีน) ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาลในมันฝรั่ง และเปลี่ยนสมบัติทางโภชนาการและคุณภาพของหัวมันฝรั่ง จัดว่าเป็นความสำเร็จชิ้นแรกของทวีปอเมริกาใต้
         Sergio Feingold ผู้อำนวยการของ INTA’s Agrobiotechnology Laboratoryอธิบายว่า “เรายืนยันได้ว่า เราสามารถแก้ไขยีนภายในเซลล์ของมันฝรั่ง ด้วยเทคนิคการแก้ไขยีนที่มีความจำเพาะต่อยีนเป้าหมายและได้เปลี่ยนลำดับทางพันธุกรรม”
           Feingold  กล่าวอีกว่า เป็นการใช้เทคนิคการแก้ไขยีน ที่รู้จักกันดีว่า เป็นเสมือนกรรไกตัดยีน หรือ CRISPR / Cas9 เมื่อใช้เทคนิคนี้ Feingold ได้มุ่งเป้าไปที่ยีน polyphenol oxidase ที่ผลิตเอ็นไซม์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดสีน้ำตาลที่หัวมันฝรั่ง เมื่อผ่าออกและทิ้งไว้ให้สัมผัสอากาศ

[adrotate banner=”3″]

         การผ่า หรือการปอกหัวมันฝรั่ง หรือความเสียหายที่เกิดจากการเก็บเกี่ยวหัวมันฝรั่ง การขนส่งและการเก็บรักษา จะทำให้รอยด่างสีน้ำตาล ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียสำหรับการบริโภคและอุตสาหกรรม
           Feingold กล่าวต่อไปว่า ความสำเร็จนี้ เป็นพื้นฐานที่มาจากเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์แบบใหม่ ที่อนุญาตให้เราทำเหมือนกับที่ทำด้วยเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม ๆ แต่เร็วกว่า และถูกต้อง

        ครับถ้าประเทศไทยมีนโยบายที่สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เราคงสามารถพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชที่ดีกว่านี้ได้เช่นกัน

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://translate.google.com/translate?sl=auto&tl=en&js=y&prev=_t&hl=en&ie=UTF-8&u=http%3A%2F%2Fria.inta.gob.ar%2Fcontenido%2Fmodifican-el-gen-que-provoca-que-la-papa-se-ponga-negra&edit-text=