จีนก้าวหน้าทำให้หนอนเจาะสมอฝ้ายกลายพันธุ์ได้ด้วย “CRISPR-Cas9”

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

a soft white fibrous substance that surrounds the seeds of a tropical and subtropical plant and is used as textile fiber and thread for sewing.

          วันนี้ขอเสนอเรื่องราวสั้น ๆ เกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีการแก้ไขยีนที่เรียกว่า CRISPR-Cas9

          หนอนเจาะสมอฝ้าย ที่มีชื่อว่า Helicoverpa armigera เป็นศัตรูพืชที่ร้ายแรงของโลก ที่สามารถเข้าทำลายฝ้ายและพืชอาหารหลายชนิด เทคโนโลยีทางด้านจีโนม จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับหนอนตัวนี้

           ทีมงานของ นาย MingHui Jin จาก Southwest University ในประเทศจีน ได้ทดลองใช้ CRISPR-Cas9 ในการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของหนอนเจาะสมอฝ้าย โดยการใส่ single guide RNA (sgRNA) ร่วมกับโปรตีน Cas9 เข้าไปในตัวหนอน ซึ่งสามารถทำให้จีโนมของหนอนเกิดการกลายพันธุ์ได้

[adrotate banner=”3″]

           นอกจากนี้ทีมงานยังประสบผลสำเร็จ ในการดัดแปลงพันธุกรรมได้ในหลาย ๆ จุด หรือหลายชนิด โดยใช้ คู่ที่แตกต่างกันระหว่าง sgRNA และ Cas9 รวมถึงการกลายพันธุ์ของยีน HaCad และ HaABCC2 ของหนอนเจาะสมอฝ้าย

            การค้นพบนี้ ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas9 กับหนอนเจาะสมอฝ้าย เพื่อการดัดแปลงพันธุกรรมสำหรับการบริหารจัดการแมลงตัวนี้ในอนาคต

             ครับ ภาคการเกษตรต้องก้าวเดินด้วยเทคโนโลยีจึงจะอยู่ได้ในยุคนี้ครับ!

            อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/1744-7917.12570